“ทุนวัฒนธรรม” พื้นที่สู่การ “ลดความเหลื่อมล้ำ” บนความหลากหลายของวิถีชีวิตและผู้คน

“ทุนวัฒนธรรม” พื้นที่สู่การ “ลดความเหลื่อมล้ำ” บนความหลากหลายของวิถีชีวิตและผู้คน

การสร้างโอกาสและการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนหนึ่งคน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาแต่ละมิติ คือการมีแผนยุทธศาสตร์ที่ดีและมีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวให้แน่ชัด เชื่อมโยงและส่งต่ออย่างเป็นระบบบ รวมถึงการนำทุนวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่มาหนุนเสริมและบูรณาการ จะทำให้การทำงานมีศักยภาพยิ่งขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร.ซุกรี หะยีสาแม อนุกรรมการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กสศ. กล่าวในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ #EP 5 “การลดความเหลื่อมล้ำบนความหลากหลายของวิถีชีวิตและผู้คน” ว่า โครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (Area-based Education: ABE) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพื่อให้เกิดการสร้างกลไก โดยทำหน้าที่เสมือนโซ่ข้อกลางในการเชื่อมร้อยระหว่างคนทำงานและเครือข่ายกับเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างความเสมอภาค หากพิจารณาในพื้นที่จังหวัดชายแดนทางภาคใต้สถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนไม่ได้แตกต่างจากพื้นที่อื่นในประเทศไทยมากนัก ทั้งปัญหาการหย่าร้าง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวแหว่งกลาง พ่อ-แม่ไปทำงานต่างจังหวัด ลูกอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย นอกจากนี้จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีผลกระทบอื่น ๆ เฉพาะพื้นที่ เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งเป็นสถานการณ์พิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ต้องประคับประคองเด็กเหล่านี้ให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ 

“ในพื้นที่ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา มีเด็กที่มีฐานะยากจนพิเศษสูงมาก เด็กเหล่านี้บางทีเราไม่มีข้อมูล ตรงนี้เป็นหน้าที่สำคัญของแกนนำและผู้จัดการรายกรณี (CM: Case Manager) ในพื้นที่ ในการช่วยกันค้นหาให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหา เพราะหากเด็กกลุ่มนี้ถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการดูแลอาจจะเป็นปัญหาสังคมในอนาคต” 

รองศาสตราจารย์ ดร.ซุกรี ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันนอกจากสหประชาชาติที่มุ่งเน้นการทำงานถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แล้ว ประเทศไทยยังให้ความสำคัญไม่แพ้กัน โดย SDGs มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย เป้าหมายต่าง ๆ หนึ่งในนั้นเกี่ยวข้องกับการทำงานของ ABE คือ เป้าที่ 1 การขจัดความยากจน เป้าที่ 2 การขจัดความอดอยาก เป้าที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ดี เป้าที่ 4 การศึกษาคุณภาพ และเป้าที่ 10 การลดความเหลื่อมล้ำ 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นสำคัญในเรื่องทุนทางวัฒนธรรมที่จัดเป็น Soft Power อย่างหนึ่ง ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบนโยบาย การทำกิจกรรมเพื่อขยับขับเคลื่อนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้วยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการออกแบบการทำงาน 3 ประเด็น ได้แก่ 

1.การใช้ทุนวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในสภาพแวดล้อม ด้วยการสร้างทัศนคติในการใช้ทุนทางวัฒนธรรม เช่น ในศาสนาอิสลามต้องดูแลเด็กยากจน เด็กด้อยโอกาส ทั้งเรื่องการบริจาคทาน คนยากจน หากสามารถใช้หลักการนี้จะทำให้เกิดการสร้างทุนมหาศาล 

2. การสร้างพื้นที่ให้มีการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อสร้างโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ มีการเปิดโอกาสให้เด็ก เช่น การรับเด็กฝึกงานสำหรับผู้ประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้เขาได้เติบโตและเพิ่มโอกาสให้แก่เด็ก 

3. การระดมทุนและสรรพกำลังต่างๆ ในการบริจาคทั่วไป เช่น ซากาต วากัฟ การบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ งานเลี้ยงน้ำชาชุมชนเพื่อการระดมทุนในชุมชน เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เป็นการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นความเชื่อของบริบทชุมชน ซึ่งแต่ละที่จะมีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน โดยวัฒนธรรมจะเชื่อมโยงกับศาสนา ทั้งศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และการนับถืออื่น ๆ ในแต่ละพื้นที่ โดยทุนเหล่านี้หากมีการพัฒนาสืบสานต่อจะนำไปสู่วัฒนธรรมในพื้นที่ ที่จะช่วยให้เด็กมีโอกาสและมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

นายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชวนสะท้อนคิด โดยระบุว่า เวทีครั้งนี้จะเห็นได้ว่าจังหวัดปัตตานีมีการนำทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่มาเป็นเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยจังหวัดปัตตานีเริ่มต้นจากการทำระบบข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในพื้นที่ ขณะที่จังหวัดสงขลานำเสนอในเรื่องกลไกภาพรวมการทำงานในพื้นที่ในการบูรณาการให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ซึ่งทั้ง 2 จังหวัด มีการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการปูพื้นฐานและนำไปสู่การคิดกระบวนการทำงานต่อ โดยเชื่อว่า หลังจากนี้แต่ละจังหวัดจะใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรมในการจัดการสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในแต่ละพื้นที่ในการขับเคลื่อนงาน หรือมีข้อค้นพบจุดแข็งของพื้นที่ตนเองแล้วนำไปสู่การต่อเติมหรือหนุนเสริมการทำงานต่อไป

ด้านศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กสศ. กล่าวว่า ในเวทีนี้จะเห็นการทำงานด้านเด็กและเยาวชนในลักษณะของงานวิจัยและข้อค้นพบต่างๆ ภายใต้การทำงานกับเครือข่าย โดยพบว่า กองทุนต่าง ๆ มีจำนวนมาก ดังนั้น การทำงานนอกจากเรื่องการมีกองทุนแล้ว คีย์เวิร์ดสำคัญ คือ ต้องมีการบริหารจัดการกองทุนนั้น ๆ ด้วย เพราะมีหลายกองทุนที่ล้มเหลว จึงต้องมีการพูดคุยและวางตำแหน่งการทำงานให้เหมาะสม รวมทั้งคนทำงานต้องเคารพพื้นที่และเครือข่าย

ส่วนเรื่องศาสนาและวัฒนธรรม คุณภาพชีวิต ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ กล่าวว่า เป็น Soft Power อย่างหนึ่ง เพราะความเชื่อต่าง ๆ ต้องใช้ทั้งศาสนาและวัฒนธรรม โดยศาสนาและวัฒนธรรมสามารถช่วยลดเรื่องความเหลื่อมล้ำได้ ทั้งศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ได้ทำหน้าที่ของด้วยตัวของศาสนาเอง ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยมีการต่อยอดแนวคิด “Learn to Earn: การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด” เพื่อสนับสนุนการให้ทุนการศึกษาในสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่ง CM ในพื้นที่จะเป็นคานงัดเล็กๆ ที่จะนำไปสู่การบูรณาการและเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคม แล้วค่อย ๆ ขยายการทำงานแบบปราณีตและมีคุณภาพ

ทั้งนี้ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 5 ของโครงการการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (Area-based Education: ABE) มี 12 จังหวัดเครือข่าย เป็นเวทีระดมความคิดเห็นในประเด็นเรื่อง“การลดความเหลื่อมล้ำบนความหลากหลายของวิถีชีวิตและผู้คน” สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2566 ณ โรงแรมคริสตัล จังหวัดสงขลา โดยมีการนำเสนอกรณีตัวอย่างการใช้ทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่แก้ไขปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ มีจังหวัดสงขลาและจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพร่วม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายในเวทีในการวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกัน

รวมทั้งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านกรอบคิดทางวัฒนธรรมและขยายมุมมองในการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่สอดคล้องกับบริบทและพื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ความเข้มแข็งของแต่ละพื้นที่จึงต้องอาศัย เครื่องมือ 7 ชิ้น เป็นเครื่องมือศึกษาชุมชน ที่จัดทำโดยนายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาจากเครื่องมือของนักมานุษยวิทยาที่ใช้ในการศึกษาชุมชนให้มีความเหมาะสมกับการวางรากฐานทำความเข้าใจชุมชน รวมทั้งช่วยให้คนทำงานเข้าใจมิติต่าง ๆ ของชุมชนที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็น การมองเห็นศักยภาพชุมชน การเห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยต่าง ๆ แทนที่จะมองแยกเป็นส่วน ๆ เช่น การศึกษา อาชีพ โอกาสทางเศรษฐกิจ ฐานะทางครอบครัว เห็นเครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชน ตลอดจนเห็นความแตกต่างหลากหลายและลักษณะเฉพาะของชุมชน เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ผังเครือญาติ ประเพณีท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้เกิดความภาคภูมิใจของคนในชุมชน

ดังจะเห็นได้จากการลงพื้นที่สำรวจชุมชนแหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกระดับตำบลของคณะทำงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำจังหวัดสงขลา ในการเป็นหูตาสัปปะรดในพื้นที่คอยค้นหาสอดส่อง ดูแล ช่วยเหลือ และส่งต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที โดยการขยับงานในชุมชน ทีมสมาชิกชุมชนได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น ในการสำรวจข้อมูลบริบทชุมชน ทุนทรัพยากรและทุนวัฒนธรรมในบริเวณโดยรอบ เพื่อเป็นข้อมูลในการเดินงาน และสามารถเปลี่ยนผลิกผันชีวิตคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ สามารถต่อรองการมีอยู่ การเรียนรู้ และการสร้างอาชีพของชุมชน ให้มีการพัฒนาอยู่อย่างสม่ำเสมอได้ 

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า