กสศ.ร่วมเวทียูนิเซฟ ฉายภาพสถานการณ์เรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูคุณภาพการศึกษา ชี้การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ ช่วยประเทศไทยฟื้นตัวอย่างเสมอภาคทุกกลุ่ม
หลังยูนิเซฟเปิดข้อค้นพบการฟื้นตัวจากโควิด-19 ครั้งที่ 1 เปิดประเด็น ‘ยังมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังหรือไม่’

กสศ.ร่วมเวทียูนิเซฟ ฉายภาพสถานการณ์เรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูคุณภาพการศึกษา ชี้การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ ช่วยประเทศไทยฟื้นตัวอย่างเสมอภาคทุกกลุ่ม

องค์การยูนิเซฟ เผยรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และการฟื้นตัวหลังโควิด-19 ครั้งที่ 1 (ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ผ่านการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างในเมืองและชนบท จำนวน 2,583 ตัวอย่างในพื้นที่ทั่วประเทศจากกลุ่มเป้าหมายประชากรวัยแรงงานทั่วประเทศไทย โดยมีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กสศ. และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับผลการสำรวจ ด้วยเป้าหมายเพื่อประเมินผลกระทบต่อสวัสดิการและสวัสดิภาพครัวเรือน และติดตามเส้นทางการฟื้นฟูในประชากรต่าง ๆ ในหลากหลายมิติ เช่น การจ้างงาน รายได้ ความั่นคงทางอาหาร การปรับตัว การศึกษา และสุขภาพ พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางในการสำรวจครั้งต่อไป และเตรียมสรุปรายงานผลฉบับสมบูรณ์ ในปี 2566 เสนอเป็นข้อมูลตั้งต้นในการกำหนดเชิงนโยบายฟื้นฟูประเทศอย่างเป็นองค์รวม

Ms.Kyungsun Kim, UNICEF Representative for Thailand กล่าวว่า รายงานการสำรวจผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และการฟื้นตัวหลังโควิด-19 ครั้งที่ 1 หลังวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้แสดงให้เห็นถึงสวัสดิภาพครัวเรือนไทย และทิศทางการฟื้นตัวของประชากรหลายกลุ่ม ในมิติการจ้างงาน รายได้ ความมั่นคงทางอาหาร การปรับตัว การศึกษา และสุขภาพ โดยแม้การสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชากรวัยแรงงานทั่วประเทศระบุว่า แนวโน้มสถานการณ์ทั่วไปของประชากรไทย เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความเหลื่อมล้ำในประชากรบางกลุ่ม จึงเกิดคำถามที่ตามมาว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในเส้นทางสู่การฟื้นฟูในองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังหรือไม่

“แม้ว่ารัฐบาลไทยได้ดำเนินมาตรการที่หลากหลาย ซึ่งช่วยรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ผลสำรวจยังคงชี้ว่า ปัญหาความยากจนยังคงอยู่ และเป็นวาระสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะกับประชากรในกลุ่มด้อยโอกาสที่ต้องเจอปัญหาอุปสรรคอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังส่งผลถึงเด็กเยาวชนจากครอบครัวเหล่านี้ ที่ประสบภาวะความรู้ถดถอยจำนวนมาก และไม่ได้รับการฟื้นฟูความรู้เท่าที่ควร ท่ามกลางสถานการณ์ของราคาอาหาร ค่าครองชีพ ราคาพลังงาน รวมถึงอัตราเงินเฟื้อที่ยังคงพุ่งสูงขึ้น”

Ms.Kyungsun Kim กล่าวว่า ผลการสำรวจครั้งนี้ ทิ้งคำถามที่ฝากไว้ให้คิดว่า เราจะทำอย่างไรให้ประชากรทุกกลุ่ม ฟื้นตัวได้อย่างเสมอภาคและยั่งยืน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใด เขาต้องได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา บริการสาธารณสุข มีงานทำ มีรายได้ โดยการสำรวจครั้งนี้เป็นเพียงครั้งที่ 1 ซึ่งจะมีการสำรวจครั้งที่ 2 ตามมา และทางยูนิเซฟจะสรุปจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเป็นข้อเสนอที่ช่วยในการกำหนดนโยบายของประเทศไทยใน 3-5 ปีต่อจากนี้ และหวังว่าการทำงานครั้งนี้จะช่วยปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ นำพาประเทศไทยไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต โดยไม่มี ‘ใคร’ หรือ ‘ประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง’ ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกต่อไป

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง TDRI

ด้าน ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า ข้อสรุปหนึ่งจากรายงานฉายให้เห็นภาพใหญ่ว่าสถานการณ์ของประเทศดีขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจคือยังมีประชากรกลุ่มที่จะทำอย่างไรให้เขาเข้าถึงการฟื้นฟูให้ได้ ในการสำรวจจะนำเราไปหาข้อมูลที่จะสามารถศึกษาคนกลุ่มนี้ได้มากขึ้น พยายามออกแบบวิธีการที่จะพาเขากลับมา เพื่อตอบโจทย์การฟื้นฟูประเทศในองค์รวมให้ได้ ส่วนในเรื่องนโยบาย ต้องออกแบบมาตรการทางสังคมที่เหมาะสมกับสถานการณ์หลังโควิด-19 โดยทำความเข้าใจผ่านรายงานผลสำรวจต่าง ๆ

ประเด็นที่ชัดคือเรื่องการพัฒนาเด็กเยาวชน จากผลสำรวจมีประเด็นที่น่าสนใจว่าเด็กยังขาดความมั่นคงทางอาหาร ตรงนี้ต้องมีนโยบายเข้าไปช่วยเหลือให้ทั่วถึง ในส่วนของการศึกษา ต้องมีการนำความมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเข้ามา เช่นลดค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ร่วมกับที่ภาครัฐมีนโยบายอยู่แล้ว ในแง่นี้ยูนิเซฟหรือหน่วยงานใดก็ตามอาจเข้ามาให้คำปรึกษาในระดับปฏิบัติการ ช่วยสำรวจพื้นที่ วางแผน และแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อทำงานในระดับพื้นที่ เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ระดับชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือที่จริงจัง จึงจะตอบโจทย์การแก้ปัญหาความรู้ถดถอย และฟื้นฟูประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม 

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ.

สอดคล้องกับ ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ที่กล่าวถึงรายงานว่า รายงานฉบับนี้ของยูนิเซฟ ถือว่ามีความสำคัญมากในช่วงเวลาที่ไทยกำลังฟื้นฟูประเทศจากวิกฤตโควิด-19 ผลสำรวจนี้จะมีประโยชน์อย่างมากกับการกำหนดนโยบายของประเทศในอนาคตอันใกล้ เพื่อทำงานกับประชากรทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ กสศ. ได้ร่วมนำเสนอรายงาน ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสถานการณ์การเรียนรู้ถดถอย (Learning Los) กับการฟื้นฟูคุณภาพการศึกษา (Learning Recovery)  สำรวจค่าเฉลี่ยความพร้อมในการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนทั่วประเทศ พบว่าความยากจนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเรียนรู้ โดยเด็กจากครัวเรือนยากจนที่สุด 10-20% ของประเทศ มีผลกระทบเรื่องการเรียนรู้ถดถอยสูงกว่าเด็กทั่วไป และนอกจากการเรียนรู้ด้านวิชาการ ยังพบภาวะถดถอยทางร่างกายในเด็กชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาตอนต้น ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กไม่สมวัย ขาดความมั่นใจในการเคลื่อนไหว หรือขาดทักษะด้านการสื่อสาร เป็นต้น

“ฐานข้อมูลการสำรวจที่เจาะลึกถึงต้นตอของปัญหา ทำให้ กสศ. ร่วมกับโรงเรียนภาคีในการสนับสนุนให้ครูและผู้ปกครอง ร่วมสังเกตเด็ก ๆ และเร่งหาวิธีการฟื้นฟูภาวะพัฒนาการทางร่างกายถดถอยให้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การฟื้นฟูพัฒนาการรอบด้านของเด็ก ให้กลับมามีความพร้อมและความมั่นใจในการเรียนรู้อีกครั้ง”

ขณะเดียวกัน ดร.ไกรยส ได้เสนอว่า ภาครัฐจำเป็นต้องลงทุนกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างจริงจัง และมีการประเมินผลผ่านข้อมูลการสำรวจ เช่นเดียวกับที่ยูนิเซฟจัดทำรายงานฉบับนี้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนกำหนดนโยบายที่มีคุณภาพ ส่งเสริมสนับสนุนคนทุกกลุ่มได้ถูกต้องตรงจุด ซึ่งจะเป็นย่างก้าวที่สำคัญของการฟื้นฟูประเทศจากโควิด-19 อย่างเสมอภาคในระยะยาว เพราะการสำรวจและติดตามข้อมูลจากประชากรทุกกลุ่มทั่วประเทศ จะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการค้นหามาตรการดูแลคนทุกกลุ่มอย่างถ้วนหน้า ทั้งยังสามารถมุ่งเป้าไปที่การสนับสนุนช่วยเหลือประชากรเฉพาะกลุ่มปัญหาได้อีกด้วย

ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวว่า สามด้านของยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังที่เชื่อมโยงกับองค์การยูนิเซฟ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต หนึ่งคือนโยบายการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ รายงานของยูนิเซฟแสดงให้เห็นชัดเจนว่ากลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเนื่อง และมากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ โดยหลังจากนี้การพัฒนาข้อมูลที่ทำให้รัฐรู้จักประชาชนหรือผู้ประกอบการ จะนำไปสู่การช่วยเหลือเรื่องสวัสดิการสังคมได้มากขึ้น

ประเด็นที่สองคือการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระยะปานกลางถึงระยะยาว รัฐต้องยกระดับศักยภาพของเด็กเยาวชนและแรงงานให้มากขึ้น โดยจากผลสำรวจจะเห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลคือเครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งภาครัฐต้องลงทุนในส่วนนี้มากขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมายต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และทำยังไงถึงจะทำให้แรงงานได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่จะเติบโตในอนาคต เช่นท่องเที่ยว หรือบริการสุขภาพ

“ยุทธศาสตร์ที่สามคือการรักษาความยั่งยืนของนโยบายการคลัง เรามีงบประมาณที่จำกัด ด้วยภาษีต่อ GDP ประเทศไทยอยู่ที่ 14% ขณะที่ฐานภาษียุโรปอยู่ที่ 30-35% ฉะนั้นนโยบายสวัสดิการสังคมถ้าเราไม่ขยายฐานภาษี ก็ต้องแลกมาด้วยระบบสวัสดิการที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่นช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยให้มีทางพัฒนาเติบโต ซึ่งในท้ายที่สุดนโยบายเจาะจงช่วยเหลือเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม อาจเป็นทางเลือกที่สำคัญของการฟื้นฟูประเทศในเป้าหมายระยะสั้น”

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า