แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา
เมื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีรุ่นเก่าหรือตกรุ่น ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการลบช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (digital divide) ในอังกฤษ ในช่วงล็อคดาวน์
ทันทีที่รัฐบาลนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันส่งสัญญาณออกมาตรการล็อคดาวน์ครั้งที่สอง สิ่งที่คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างมาร์ธา กังวลมากที่สุดก็คือการที่ลูกชายวัยกำลังซนทั้งสามคนของตนเองจะต้องกลับมาเรียนออนไลน์อีกครั้ง โดยที่บ้านยังคงไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์สักเครื่อง
โดยในการล็อคดาวน์รอบแรกเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว ลูกชายวัยประถมทั้งสามคนของมาร์ธาไม่สามารถเข้าถึงห้องเรียนออนไลน์ที่ทางโรงเรียนจัดให้ได้ แถมยังทำให้โดยตัดขาดช่องทางติดต่อกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน
แม้จะตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องซื้อคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตมาใช้ แต่ด้วยรายได้ที่แทบจะไม่พอกินพอใช้ ทำให้ คุณแม่อย่างมาร์ธาจำเป็นนะต้องหาหนทางให้ลูกๆได้เข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการเรียน
ทั้งนี้ โชคดีว่า การค้นหาดังกล่าว นำมามาร์ธาให้พบกับ Catbytes หนึ่งในโครงการที่ริเริ่มของชุมชนในหลายพื้นที่ในการจัดการแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว ไปให้กับเด็กๆ หรือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากภาค “ยากจนทางดิจิทัล” หรือ “Digital Poverty” ในช่วงที่เกิดวิกฤตการระบาดของโควิด -19 ครั้งใหญ่
“เด็กๆ มีความสุขมาก เพราะสามารถเดินหน้าเรียนและทำการบ้านได้แล้ว และที่้บ้านก็สามารถกลายเป็นห้องเรียนของเด็กๆ ได้เสียที” มาร์ธาแสดงความรู้สึกหลังสามารถดำเนินการขอยืมเครื่องคอมพิวเตอร์จาก ห้องสมุดเทคโนโลยีของ Catbytes (Catbytes’Tech Library)
สถานการณ์ของมาร์ธา ไม่ต่างอะไรกับอีกหลายครัวเรือนในอังกฤษ ที่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะยากจนทางดิจิล โดยจากการประมาณการณ์ของ Ofcom พบว่า เกือบๆ 1 ใน 10 ของครอบครัวในอังกฤษ ซึ่งรวมถึงเด็กนักเรียนมากถึง 1.8 ล้านคน ไม่มีคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต ใช้ที่บ้าน
ขณะเดียวกัน มีเด็กเพียง 900,000 คนที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่บ้าน อีกทั้งการเข้าถึงนั้นยังเป็นเป็นการเข้าถึงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า นักเรียนหลายคนในอังกฤษต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเรียนออนไลน์ หลังต้องล็อคดาวน์ประเทศหลายครั้ง ซึ่งแม้ภาครัฐจะให้คำมั่นในการจัดหาแล็ปท็อปมากกว่า 1 ล้านเครื่องเพื่อช่วยให้เด็กเรียนออนไลน์ รวมถึงปรับกฎให้ยืดหยุ่นด้วยการอนุญาตให้เด็กที่ไม่มีคอมพิวเตอร์สามารถเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้ตามความจำเป็น
อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้วก็ยังมีเด็กที่ไม่สามารถเข้าเรียนในห้องเรียนออนไลน์หรือห้องเรียนปกติได้อีกเป็นจำนวนมากทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและมูลนิธิองค์กรทั้งหลายกล่าวเตือนว่าการที่ครอบครัวยากจนรายได้น้อยยังคงประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นอันตรายที่เสี่ยงต่อการทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากว้างมากขึ้น
Kate Anstey หัวหน้าโครงการการกุศลเพื่อเด็กยากจน อย่าง Child Poverty ActionGroup ได้ออกมาเร่งให้ทางการลงมือดำเนินการโดยอาศัยบทเรียนจากการปิดโรงเรียนในช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วมาปรับใช้ เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ต้องออกจากห้องเรียนเพราะโรงเรียนปิดเหลืออยู่ในระดับน้อยหรือไม่เหลือเลย
“สิ่งที่เราได้ยินได้เห็นมาก็คือ เหล่าเด็กนักเรียนพยายามเขียนบทความส่งบนโทรศัพท์เด็กๆ เข้าคิวต่อแถวใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่เครื่องเดียวในบ้าน และพ่อแม่ยอมตื่นนอนแต่เช้าตรู่เพื่อมานั่งคัดลอกเอกสารตำราเรียนของลูกๆ” Kate กล่าว
เป็นเรื่องน่ายินดีว่า หน่วยงานอย่าง Catbytes เป็นหนึ่งในหน่วยงานเพื่อสังคมหลายสิบแห่งที่ภาคธุรกิจในพื้นที่ร่วมมือกับชุมชนดำเนินการบริจาคและส่งต่อคอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ตทีไมใช้แล้ว กระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ทั่วประเทศอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างความเหลื่อมล้ำของการขาดแคลนอุปกรณ์ที่เกิดขึ้น
Cat Smith อาสาสมัครรายหนึ่งของกลุ่ม Lambeth Tech Aid ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเม.ย. ปี 2020 ที่ผ่านมากล่าวว่า จำนวนผู้ที่ขาดแคลนคอมพิวเตอร์มีอยู่ก่อนแล้ว เพียงแต่จำนวนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังจากโรงเรียนต้องปิดตัวลง
ด้าน Nina Porter ผู้ดำเนินการของโครงการ Levep Up ซึ่งมุ่งบริจาคแบ่งปันแล็ปท็อปเครื่องเก่าในย่าน East Surrey กล่าวว่า สายโทรศัพท์ของโครงการแทบระเบิดในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หรือนับตั้งรัฐบาลประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์
ทั้งนี้ องค์กรหลายแห่งเปิดเผยว่า รู้สึกตกใจอย่างมากับปริมาณความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นโดยโรงเรียนบางแห่งเรียกร้องขออุปกรณ์มากกว่า 100 เครื่องให้กับเด็กนักเรียนที่ไม่มีอุปกรณ์ หรือมีอุปกรณ์ไม่พอต่อความจำเป็นใช้งานที่บ้าน
นอกจากจะเป็นแนวทางในการช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้านอุปกรณ์การเรียนของเด็กแล้ว โครงการขององค์กรตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วอังกฤษ ยังช่วยคลี่คลายปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เรื้อรังมานาน อย่าง “ขยะเทคโนโลยี” หรือ Tech Waste ในอีกทางหนึ่งด้วยเนื่องจาก แทนที่คอมพิวเตอร์เครื่องเก่าที่ไม่ใช่งานแล้วจะโดนทิ้งให้เป็นซากขยะ โครงการเหล่านี้ก็ไปรวบรวมคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการเหล่านี้มาจัดการซ่อมแซมบำรุงสภาพขึ้นมาใหม่ เพื่อนำกลับมาใช้งาน
Ugo Vallauri จากกลุ่ม The Restart Project องค์กรการกุศลที่จัดการเรืองการซ่อมและการนำกลับมาใช้ใหม่ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ร่วมมือกับโครงการบริจาคคอมพิวเตอร์หลายแห่งทั่วอังกฤษกล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่ามีหลายสิ่งที่คนในชุมชนสามารถทำได้ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในชุมชนเอง
และแม้ว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีที่บริจาคมานี้จะไม่ได้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ 100% แต่การที่สามารถมีแท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์สักเครื่องไว้ใช้งานย่อมสร้างความแตกต่างมหาศาลให้กับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
Simon Howatson ประธานบริหาร Rebuyer บริษัทที่นำอุปกรณ์เทคโนโลยีกลับมาใช้งานใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรการกุศล Donate Digital ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษกล่าวว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ไม่เป็นที่ต้องการเหล่านี้ คือสิ่งจำเป็นของคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคม โดยในช่วงทดลองทำโครงการ ครูใหญ่คนหนึ่งเดินมาหาตนและกล่าวว่า มีหลายครอบครัวยืนร้องไห้อยู่หน้าประตูบ้านทันทีที่ได้เห็นอุปกรณ์มือสองเหล่านี้
“นั่นหมายความว่า อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้มีความหมายต่อพวกเขามากมายนัก” Simon กล่าว
ที่มา : Unwanted tech helps bridge ‘digital divide’ in lockdown Britain