กสศ. ระดมไอเดียสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ พัฒนาโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2566
สร้างหลักสูตรที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 เดินหน้าประเทศออกจากกับดักรายได้ปานกลาง

กสศ. ระดมไอเดียสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศ พัฒนาโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2566

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปี 2566 (ระยะที่ 2) โดยมีผู้บริหารและคณาจารย์จากสถานศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับอนุปริญญา ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมโครงการจำนวน 51 แห่ง จาก 31 จังหวัดทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 400 คน

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงข้อเสนอโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง การพัฒนาระบบดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของผู้รับทุน การพัฒนาคุณภาพหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน รวมถึงส่งเสริมโอกาสการมีงานทำตามความตั้งใจและความถนัดของนักศึกษาทุน

ศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงกว่าภาคบังคับ กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘ทิศทางการพัฒนาการศึกษาสายอาชีพ’ ว่า อาชีวศึกษาหรือการศึกษาสายอาชีพ มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ประเทศผู้นำอุตสาหกรรมของโลกจึงเน้นความสำคัญเรื่องการพัฒนาระบบอาชีวศึกษา โดยเยอรมนีเป็นประเทศแรกที่เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี 4.0 หรือเทคโนโลยีดิจิทัล ขณะที่ประเทศไต้หวันมีระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเริ่มต้นการศึกษาได้ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ และสามารถเรียนสลับสับเปลี่ยนตามความสนใจได้จนจบการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตน

“ส่วนในประเทศไทย การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลยังมีจุดอ่อน เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรรุ่นใหม่จึงถือเป็นความท้าทาย โดยสถาบันการศึกษาต้องร่วมกับภาคอุตสาหกรรมเอกชนต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ประสบการณ์จากการทำงานจริง ในสถานที่จริง และมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีเมื่อจบการศึกษา”

ศ.ดร.นักสิทธ์ กล่าวถึงประเทศไทยกับความต้องการกำลังคนในสายอาชีวศึกษาว่า ปัจจุบันไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง มีรายได้ GDP ต่อหัวราว 7,100 เหรียญสหรัฐ ซึ่งการจะพาประเทศหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จำเป็นต้องมีการพัฒนานวัตกรรม โดยการแก้ปัญหาที่ตรงจุดคือ เร่งพัฒนากำลังคนสายอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ

“สถานการณ์ปัจจุบัน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ยังขาดแคลนบุคลากรสายอาชีพราว 1.2 แสนคน การลงทุนในโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงตามแนวทางที่ กสศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันอาชีวศึกษาทั่วประเทศร่วมมือกัน จึงเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาที่ตรงกับสาเหตุ โดยจำเป็นต้องร่วมมือปฏิรูปหลักสูตรอาชีวศึกษาให้รองรับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อก้าวไปสู่ประเทศกลุ่มรายได้สูง” 

ศ.ดร.นักสิทธ์ เน้นย้ำว่า การทำงานโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงต้องยึดภารกิจหลัก 7 ประการ คือ 1) สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา 2) ปรับปรุงระบบทวิภาคีเพื่อให้สถาบันอาชีวศึกษาทำงานร่วมกับสถานประกอบการได้ดียิ่งขึ้น 3) สนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาเปิดหลักสูตรที่ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น 4) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันอาชีวศึกษากับอุดมศึกษา ในด้านบุคลากรและเครื่องมือ 5) ขยายผลจากสถานศึกษาต้นแบบไปยังสถาบันอื่นทั่วประเทศ 6) พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และ 7) พัฒนาครูอาชีวศึกษาในสาขาอาชีพที่ขาดแคลน และตอบโจทย์อุตสาหกรรมสมัยใหม่

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กสศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการส่งเสริมนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้ได้รับการศึกษาต่อสายอาชีพในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ 

ดร.ไกรยส กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญความท้าทายในหลายด้าน ปัญหาหนึ่งที่เด่นชัดคือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน 15 เปอร์เซ็นต์ล่างสุด ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่สูงกว่าภาคบังคับ และมีเยาวชนเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มนี้เท่านั้นที่ได้เรียนสูงกว่าระดับ ม.3 ทั้งที่ข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่ามีเยาวชนด้อยโอกาสที่มีศักยภาพ หรือเป็นกลุ่ม ‘ช้างเผือก’ อีกจำนวนมากที่สามารถเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศได้ หากได้รับการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ

ด้วยเหตุนี้ กสศ. และหน่วยงานภาคีจึงพัฒนาโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยที่สุดได้มีโอกาสศึกษาต่อและพัฒนาให้เป็นแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง ด้วยการศึกษาเรียนรู้ในสาขาวิชาอันเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาประเทศต่อไป

“ถ้าเราเปลี่ยนประชากรขาดโอกาสกลุ่มนี้เป็นแรงงานทักษะสูงได้สำเร็จ ย่อมมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางซึ่งคงสถานะมาตั้งแต่ปี 2519 หรือ 47 ปีผ่านมาแล้ว ให้กลายเป็นประเทศกลุ่มรายได้สูง ตามนิยามของธนาคารโลก ที่รายได้เฉลี่ยประชากรต่อคนต่อเดือนต้องอยู่ที่ราว 34,000 บาท ขณะที่ปัจจุบันค่าเฉลี่ยรายได้ประชากรของไทยยังอยู่ที่ 20,000 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาไปเป็นประเทศรายได้สูงจึงยังมีช่องว่างอยู่ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่อยู่ในแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทยในวันนี้”

ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า การเพิ่มขีดความสามารถในทรัพยากรมนุษย์ตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และทำให้ประสบความสำเร็จในการออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้ในที่สุด ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาสายอาชีพจำนวนมาก ความท้าทายนี้ทำให้ กสศ. และหน่วยงานภาคีดำเนินการคัดเลือกและมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนราว 2,500 คนในแต่ละปี ให้ศึกษาต่อในระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญาประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ และพร้อมทำงานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา 

ทั้งนี้ การพัฒนาผ่านทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงไม่ใช่เพียงนำเยาวชนเข้าสู่ระบบการศึกษา แต่ยังเป็นการพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาไปพร้อมกัน ด้วยการหนุนเสริมให้สถาบันมีความก้าวหน้าในการผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะสาขาในกลุ่ม S-curve และ New S-curve ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ

“หลังดำเนินโครงการมาเป็นเวลา 4 ปี วันนี้เรามีความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยมีนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง 9,326 คน จากสถานศึกษา 114 แห่ง ใน 50 จังหวัดทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 3,037 คน และในปีการศึกษา 2566 นี้ จะมีนักศึกษาทุนเข้ามาเพิ่มอีกจำนวน 2,500 คน เข้าศึกษาในสถาบันที่เปิดสอนระดับ ปวช. ปวส. และอนุปริญญา จำนวนทั้งสิ้น 64 แห่ง ใน 33 จังหวัด

“กสศ. ขอขอบคุณผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ ที่ทุ่มเทกำลังในการลงพื้นที่ค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักศึกษา โดยใช้ฐานข้อมูลจาก กสศ. เป็นจุดเริ่มต้น ทำให้เกิดการทำงานเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ ระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชน 3,571 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาผู้มีความต้องการพิเศษ 160 คน โดยหลังจากนี้เยาวชนที่ผ่านการคัดกรองจะผ่านการพัฒนาและคัดเลือกอย่างเข้มข้น เพื่อให้สำเร็จการศึกษาสูงกว่าภาคบังคับ และมีงานทำ มีรายได้ อันเป็นการยุติความยากจนข้ามชั่วคนไม่ให้ส่งต่อถึงสมาชิกในรุ่นถัดไป และถึงวันนั้นประเทศไทยก็จะก้าวพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้ในที่สุด”

นางปัทมา วีระวานิช ผู้ชำนาญการด้านการขับเคลื่อนนโยบายอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศเฉพาะทาง สอศ. กล่าวเสริมว่า การพัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาต้นแบบต้องมีระบบและการจัดการตามที่โครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงวางไว้ คือการค้นหา คัดกรอง คัดเลือก มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาทักษะชีวิต และส่งเสริมการมีงานทำ โดยความคาดหวังของโครงการคือเพิ่มโอกาสด้านการศึกษา และยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ให้กับเยาวชนที่มีความสามารถซึ่งด้อยโอกาสด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนเยาวชนกลุ่มนี้ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะวิชาชีพขั้นสูง มีคุณภาพการดำรงชีวิตที่ดี และมีเส้นทางพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง 

“ดังนั้นการจะเป็นสถาบันต้นแบบได้ ทุกสถาบันอาชีวศึกษาต้องตีความก่อนว่ากำลังคนคุณภาพสูงควรมีคุณสมบัติอย่างไร แล้วจึงย้อนไปที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ และตั้งคำถามต่อไปว่า การจัดการเรียนรู้คุณภาพสูงหรือระบบทวิภาคีคุณภาพสูงคืออะไร เหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายที่สถานศึกษาต้องนำไปดำเนินการ ถ้าสถาบันใดค้นพบรูปแบบเฉพาะของตนแล้ว ไม่เพียงนักศึกษาทุนจะได้รับประโยชน์ แต่นั่นหมายถึงนักศึกษา สถาบัน และนิเวศของการจัดการศึกษาสายอาชีพจะได้รับการพัฒนาไปในทางเดียวกันทั้งระบบ”

นายเจริญชัย วงษ์จินดา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าวว่า พันธกิจของวิทยาลัยชุมชนคือดูแลเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ห่างไกล โดยการเข้าร่วมกับโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ทำให้วิทยาลัยชุมชนหลายแห่งก้าวข้ามข้อจำกัดด้านความพร้อมของบุคลากรและกระบวนการดำเนินงาน ด้วยวิธีการระดมเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาสนับสนุน ตั้งแต่การค้นหากลุ่มเยาวชนที่ขาดแคลนโอกาสผ่านข้อมูลจาก กสศ. และเขตพื้นที่การศึกษา และมีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการคัดกรอง ก่อนที่ทางสถาบันจะคัดเลือกนักศึกษาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาตนเอง 

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้ระหว่างการค้นหาคัดกรองคัดเลือก จะถูกนำมาใช้ออกแบบการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับนักคึกษารายคน เพื่อให้เยาวชนที่มีศักยภาพแต่ขาดแคลนโอกาส สามารถอยู่ในกระบวนการพัฒนาตนเองได้จนถึงปลายทาง นอกจากนี้หลังจบการศึกษาแล้ว วิทยาลัยชุมชนในโครงการฯ ยังมีระบบส่งต่อและดูแลต่อเนื่องในช่วงเริ่มต้นประกอบอาชีพ ผ่านความร่วมมือกับสถานประกอบการในชุมชนที่มาช่วยพัฒนาหลักสูตรฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียน ช่วยวางเส้นทางในการเรียนต่อระดับปริญญาตรี และพร้อมรับนักศึกษาเข้าทำงานทันทีหลังจบการศึกษา 

“ด้วยกระบวนการเหล่านี้ วิทยาลัยชุมชนจึงเป็นหนึ่งในสถาบันพัฒนาบุคลากรสายอาชีพ ที่ช่วยให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้จากความร่วมมือภายในท้องถิ่น”

นางสาวภาณิศา หาญพัฒนนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มระบบนิเวศส่งเสริมการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้ศึกษาเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และพบว่ามีหลายอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมูลค่าสูง (health and wellness tourism) ที่เน้นเรื่องสุขภาพและการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ที่เน้นองค์ความรู้ด้านการจัดเก็บพลังงานขั้นสูง (advance energy storage) หรืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นเรื่อง software digital หรืออีกแนวโน้มสำคัญคือการทำเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานที่ สอวช. มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มสัดส่วนแรงงานทักษะสูงให้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2570 ภายใต้การสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะสูง ด้วยกลไกทางนโยบาย โดยคาดหวังให้เกิด start up ใหม่ ๆ ที่เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมโลก

“สถานการณ์การจ้างงานในปัจจุบัน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า บุคลากรสายอาชีวศึกษาถือเป็นกลุ่มที่ตลาดแรงงานต้องการมากที่สุด ตามนโยบายพัฒนาประเทศ 4.0 หรือการเกิดขึ้นของ EEC ประเทศไทยจึงต้องเตรียมกำลังคนให้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ เมื่อเทียบข้อมูลจากหลักสูตรอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตกำลังคนกับการจ้างงานจริง ยังพบว่ามีหลายสาขาอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการสูงในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นการสร้างสถาบันการศึกษาต้นแบบ จำเป็นต้องจัดทำหลักสูตรที่เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาในอนาคต ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และหลุดพ้นจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลางในที่สุด”

นางลฎาภา มอร์เตโร ครูใหญ่ศูนย์การเรียน บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความตั้งใจของสถานประกอบการในหลายพื้นที่ คือการพัฒนาบุคลากรคุณภาพร่วมกับสถาบันต้นแบบ เพื่อการทำงานในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการทำงานภายใต้วิสัยทัศน์ที่ผูกโยงกับการมอบโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนผู้มีความสามารถ อย่างไรก็ตาม การจะทำได้ตามเป้าหมายนั้นต้องมีคณาจารย์และคณะทำงานซึ่งมีความถนัดเฉพาะทาง มีใจที่จะทำงานต่อเนื่อง โดยมองถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นที่ตั้ง ซึ่งสถาบันที่เข้าร่วมโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงตลอด 4 ปีการศึกษาที่ผ่านมา แสดงให้เห็นแล้วว่ามีพร้อมสูง จึงเชื่อว่ามีสถานประกอบการอีกมากที่ตั้งใจจะเข้ามามีส่วนร่วม และช่วยผลักดันให้ทุนดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น

“เรากำลังช่วยกันพัฒนาสถาบันต้นแบบที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหาร ครูอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการต้องโยกย้าย โลกจะเปลี่ยนแปลง หรือเกิดวิกฤตใด ๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่จะคงอยู่เสมอคือระบบ ซึ่งวันนี้เราสร้างระบบดูแลนักเรียน และการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการได้แล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ร่วมทำกันมาและจะร่วมกันทำต่อไปจากนี้ จะเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาบุคลากรสายอาชีวศึกษา และจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าประเทศไทยจะพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตในระยะยาวต่อไปอย่างไร”

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า