จากการแก้ไขปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา สู่การกำหนดเป้าหมาย Zero Dropout ของประเทศ

จากการแก้ไขปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา สู่การกำหนดเป้าหมาย Zero Dropout ของประเทศ

สังคมไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว ปัจจุบันเด็กไทยเกิดเพียงปีละประมาณ 500,000 คน อัตราการเกิดต่อสตรีเพียง 1.34 ทำให้เด็กเยาวชนทุกคนในระบบการศึกษาไทยคือ “มนุษย์ทองคำ” ที่ควรรักษาและลงทุนให้มีการสะสมทุนมนุษย์อย่างเสมอภาค

การลงทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยการพัฒนาทุนมนุษย์ให้แก่เด็กเยาวชนอย่างเสมอภาคทุกช่วงวัย จึงถือเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อการลงทุนที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากเราจะมี “เด็กเยาวชน” เหลือให้ลงทุนน้อยลงทุกๆ ปี ทุกๆ วันแล้ว หากใช้การศึกษาเสมอภาคเป็นกุญแจสำคัญในการพาคนไทยทุกครัวเรือนออกจากกับดักความยากจนข้ามรุ่นได้สำเร็จ ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางในช่วงชีวิตของพวกเราทุกคน

409 ล้านบาทต่อปี คือตัวเลขที่ประเทศไทยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากการที่นักเรียนยากจนและยากจนพิเศษหลุดจากระบบการศึกษาจำนวน 33,547 คน ในช่วงชั้น ม.3 ขึ้น ม.4 และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4)

ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 3.5%
30 ปี คือเวลาที่ประเทศไทยจะหลุดจากปัญหากับดักรายได้ปานกลาง

องค์การยูเนสโกประเมินว่าหากบรรลุเป้าหมาย ZERO Dropout ได้สำเร็จตาม SDG4 ประเทศไทยจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) เพิ่มขึ้น 3%

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอในงาน Equity Forum 2023
“ทุนมนุษย์เพื่อยุติความเหลื่อมล้ำ”

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม