ดูแลโรงเรียนอย่างไรให้ปลอดภัยจาก covid-19

ดูแลโรงเรียนอย่างไรให้ปลอดภัยจาก covid-19

เพราะการเปิดเทอมใกล้เข้ามาถึง การดูแลและเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรค Covid-19 จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ
ถอดบทเรียนจาก “แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19” โดย กสศ. ได้ร่วมจัดทำคู่มือนี้กับ Unicef ประเทศไทย และอีกหลากหลายองค์กรด้วยกัน
ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเจ้าหน้าที่ สามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตัวเอง
Download แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาฉบับเต็มได้ที่ : https://www.eef.or.th/notice/132/
1.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค ตามอาคารเรียนและห้องเรียน โดยเฉพาะจุดให้บริการน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสุขาภิบาลและบริเวณพื้นผิวที่มีคนจำนวนมากสัมผัส (ราวบันได โต๊ะอาหาร มือจับประตู-หน้าต่าง
สื่อการเรียนการสอน ฯลฯ) รวมถึงรถรับส่งอย่างน้อยวันละครั้ง
2. จัดให้มีจุดคัดกรองอาการไข้ ไอ น้ำมูก บริเวณทางเข้า ประตูสถานศึกษาทุกเช้า เพื่อแยกผู้มีอาการไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล ไม่ต้องสัมผัสตัว
3. นำหลัก Physical Distancing มาใช้ เช่น จัดโต๊ะเรียนให้มีห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ปรับเวลาเข้าเรียน-เลิกเรียนให้เหลื่อมกัน และสอนเรื่องการรักษาระยะห่างและการเลี่ยง การสัมผัสโดยไม่จำเป็น โดยครูทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
รวมถึงควรยกเลิกกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม
2. สื่อสารและทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อให้ทุกคนรู้ถึงข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ
สถานการณ์ของโรค COVID-19 แบบตระหนักแต่ไม่ตระหนก รวมถึงการดำเนินงานและควบคุมการระบาดในสถานศึกษา โดยผ่านสื่อต่างๆ ตามความเหมาะสมของบริบท สภาพแวดล้อม และความพร้อมในพิ้นที่ตัวเอง2. เน้นย้ำให้ผู้ปกครองแจ้งให้สถานศึกษาและหน่วยงาน
สาธารณสุขทราบหากมีสมาชิกในครอบครัวติดโรค COVID-19 และให้เด็กหยุดเรียนอยู่บ้านเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วันหากมีข้อสงสัย หรือตรวจพบความเสี่ยงต่อการติดโรค COVID-19 สามารถแจ้งได้ ตามช่องทางเหล่านี้
– สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
– ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือสถานศึกษา
ประสบภัยพิบัติ กระทรวงศึกษาธิการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
โทร 02-628-6400 หรือ 02-628-6397

1. ควรมีการวางแผนล่วงหน้าร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพในสถานศึกษา พร้อมทั้งปรับปรุงรายชื่อบุคคลที่ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉินให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

หากพบว่ามีนักเรียน และเจ้าหน้าที่ที่มีไข้ (อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาฯ) หรือมีประวัติสงสัยป่วยด้วยโรค COVID-19 ควรแยกออกจากบุคคลอื่น และเตรียมห้องพยาบาลพิเศษไว้ให้ต่างหาก พร้อมระวังไม่ให้เกิดการตีตราหรือบูลลี่ เหมารวมว่าคนกลุ่มนี้ไม่ดีต่อสังคม

2. ปรับนโยบายของโรงเรียนตามความเหมาะสม ในส่วนของการมาเรียนของนักเรียนและการมาทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการลาป่วย ทั้งหมดนี้ควรมีการยืดหยุ่น ที่สำคัญปฏิทินการศึกษาก็ต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะการปิดภาคเรียนและการสอบ

3. กระตุ้นให้เด็กนักเรียนซักถามพร้อมสนับสนุนให้สามารถพูดคุยกับครูผู้สอนได้เสมอ และให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ด้วยภาษาและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก

4. กลุ่มเด็กเปราะบางก็ต้องมีการดูแลเอาใจใส่เช่นกัน เช่น ควรมีระบบการสอดส่อง ติดตามดูแลเด็กกลุ่มนี้
อาจเป็นการโทรถามไถ่ เยี่ยมบ้าน (แบบมีระยะห่าง) เป็นประจำระหว่างปิดภาคเรียน เป็นต้น

ในกรณีของการขาดเรียน/งาน การลาป่วย หรือการปิดโรงเรียนชั่วคราว สถานศึกษาจะต้องหาวิธีให้นักเรียน/นักศึกษาสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำได้ ดังนี้

1. ใช้กลยุทธ์การเรียนออนไลน์ (e-Learning) ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แท็ปเล็ต ที่มีการใส่ข้อมูลแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนแต่ละชั้นปี

2. มอบหมายให้นักเรียนอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดที่บ้าน

3. ให้ครูติดตามการศึกษาทางไกลของนักเรียนเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์

4. ทบทวนหรือพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเรียน การสอนเชิงเร่งรัด (Accelerated Education)

ในกรณีที่สถานศึกษาและเด็ก มีข้อจำกัดด้าน การเข้าถึงเทคโนโลยี คุณครูอาจปรับเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์ หรือเยี่ยมบ้านโดยมีการรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย

ส่วนการเรียนการสอนก็อาจปรับเป็นการ เผยแพร่เนื้อหาวิชาการทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารการเรียนรู้ (Learning Box Set) แทน

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม