5 Steps สำคัญ ‘นวัตกร’ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

5 Steps สำคัญ ‘นวัตกร’ เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ปัญหาด้านการศึกษา คืออุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาโดยนวัตกรรุ่นใหม่ จึงเป็นความหวังของประเทศไทย ที่จะทำให้ความเสมอภาคทางคุณภาพในการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พร้อมสนับสนุน ร่วมมือ และเดินเคียงข้างไปกับนวัตกรรุ่นใหม่ เพื่อภารกิจที่สำคัญ คือความเสมอภาคทางการศึกษาในประเทศไทย
โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้มอบสิ่งสำคัญอันเป็น ‘พิมพ์เขียว’ ในการทำงาน ที่จะสร้างความสำเร็จ ด้วย 5 Steps ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่นวัตกรรุ่นใหม่ทุกคนจำเป็นต้องมี ให้กับนวัตกรรุ่นใหม่
จากงาน ‘Education Disruption Hackathon 2’ เฟ้นหาคนรุ่นใหม่หัวใจ Disruptor ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ด้วยนวัตกรรม แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และนำพาประเทศไปสู่ ‘ความเสมอภาคทางการศึกษา’ ที่ยั่งยืน

1.เลือกประเด็นการทำงานให้ถูกต้อง (Strategic Targeting)

การเลือกประเด็นทำงานถูกต้องคือการกลัดกระดุมเม็ดแรกของการทำงาน ควรเลือกประเด็นที่สนใจ เข้าใจพื้นฐานปัญหา และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง นวัตกรต้องตกผลึกในประเด็นปัญหา วิเคราะห์ปัญหาได้ลึกซึ้งและมีมุมมองต่อปัญหาหลากหลายมิติดูน้อยลง

2.เลือกพื้นที่ทำงานที่เหมาะสม (Choosing the right Sandbox)

นวัตกรต้องเลือกพื้นที่การทำงานที่เหมาะสมกับการทำงานจริงในขั้นทดลอง ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่มีความซับซ้อนทางสังคมสูงในการทดสอบนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานที่จำเป็น หรือปัญหาที่มีความคงที่ในระดับหนึ่งให้ได้ก่อน แล้วจึงขยายผลไปยังพื้นที่อื่น และไม่ควรคิดแก้ปัญหาหลายอย่างไปพร้อมๆ กันในช่วงเริ่มต้น

3.ลงพื้นที่เข้าใจปัญหา (Get insights from real insiders)
อย่าคิดทำงานบนหอคอยงาช้าง นวัตกรต้องลงไปดูในพื้นที่ ฝังตัวเพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ คนในพื้นที่จะให้คำตอบได้ว่าอะไรที่สามารถทำได้ หรืออะไรที่เป็นไปได้แค่ในเชิงทฤษฎี เก็บคำถามและผลลัพธ์มาออกแบบนวัตกรรม พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หมายถึง ‘อย่ากลัวที่จะรื้อแผนงานใหม่ทั้งหมด’ เมื่อพบว่าสิ่งที่ออกแบบมาไม่สามารถใช้ได้กับพื้นที่จริง
4. สร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย (‘All for education’ Partnership)
อย่าคิดว่า ‘เรา’ จะสร้างความสำเร็จสมบูรณ์ที่จะแก้ปัญหาสังคมได้เพราะเจ้าของปัญหาตัวจริงคือ ‘พื้นที่’ หน้าที่ของ ‘เรา’ คือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสามารถส่งต่อการแก้ปัญหาให้ดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว ผ่านการทำงานของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เมื่อไม่มี ‘เรา’ อยู่ในพื้นที่นั้นแล้ว นวัตกรรมต้องสามารถไปต่อ และเป้าหมายที่วางไว้ก็ยังต้องสามารถบรรลุได้

ดาวน์โหลดเพิ่มเติม