สมุทรสาครเดินหน้าเดินหน้าตั้งสมัชชาการศึกษา ตอบโจทย์การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม

สมุทรสาครเดินหน้าเดินหน้าตั้งสมัชชาการศึกษา ตอบโจทย์การเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม

เพราะการเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดด้วยความแตกต่างของเพศ วัย และความเชื่อ สมุทรสาครเตรียมจัดตั้งสมัชชาการศึกษาให้เสร็จภายในปีนี้ ดึงความมีส่วนร่วมตอบโจทย์การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม

สมัชชาการศึกษา เป็นกระบวนการที่บุคคล องค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมคิด ร่วมแก้ ปัญหาการศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทุกระดับ ซึ่งจัดตั้งขึ้นบนหลักการของ ความเป็นหุ้นส่วนและมีส่วนร่วม ภายใต้ความเท่าเทียม เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาของคนทุกเพศวัย

สมุทรสาครเป็นอีกหนึ่งในจังหวัดที่อยู่ระหว่างการวางแผนจัดตั้งสมัชชาการศึกษา จากการต่อยอดโครงการการพัฒนาการการศึกษาในพื้นที่แบบบูรณาการ ซี่งทางคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเห็นชอบและเริ่มต้นเดินหน้ากำหนดทิศทางการการทำงานพร้อมตั้งเป้าที่จะมีสมัชชการศึกษาสุมทรสาครได้ภายในปีนี้

นายอาคม ศาณศิลปิน ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า เดิมทีมีโครงการหนึ่งเป็นเรื่องกลไกการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่​แบบบูรณาการซึ่งจังหวัดสมุทรสาครเป็นต้นแบบการพัฒนาการการศึกษาแบบบูรณาการ ต่อมาก็มองถึงเรื่องสมัชชาการศึกษาที่เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน และเป็นสิ่งที่ทางกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)​และ กรรมการปฏิรูปการศึกษาเคยทำไว้มีต้นแบบในหลายจังหวัด จึงนำมาผสมกันโดยทางคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเห็นชอบให้ขับเคลื่อนจัดตั้งสมัชชาการศึกษา

ทั้งนี้ ขั้นตอนการดำเนินการอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในจังหวัด 3-4 ท่าน ซึ่งเป็นส่วนของภาคประชาชน ที่จะพูดคุยถึงกรอบวัตถุประสงค์ คนที่จะมาช่วยทำงานเป็นใครบ้าง และมีใครจะทำหน้าที่ผู้นำสมัชชา ไปจนถึงกลุ่มคนที่จะมาร่วมกำหนดกรอบทิศทางการจัดตั้งสมัชชา

“ช่วงเริ่มต้นพยายามคุยกับทาง กสศ. ว่าเราอยากเห็น Best Practice ตัวอย่างจากแต่ละจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาแล้วเขามีข้อมูลที่เป็นข้อสังเกตส่วนไหนที่จะมาเป็นตัวช่วยให้จังหวัดสมุทรสาครได้มองเห็นภาพ และเห็นว่าตรงไหนต้องตระหนักถึง ตรงไหนที่เป็นจุดดี จุดด้อย โดยอยู่ในช่วงเริ่มต้นเขียนขอบเขตการทำงาน”

ศึกษาธิการจังหวัดสมุทรสาคร อธิบายเพิ่มเติมว่า  การทำงานในพื้นที่จะมีทั้งภาคประชาชน สมาคมผู้บริหารสถานศึกษา  และชมรมที่เป็นภาคนอกราชการสามสี่ส่วน ไปจนถึงอดีตผู้บริหารสถานศึกษาที่เกษียณแล้ว รวมทั้งจะมีความร่วมมือจากภาคธุรกิจ หอการค้า สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ซี่งรองประธานสภาอุตสาหกรรมเป็นกรรมการในศึกษาธิการจังหวัดยินดีที่จะช่วยสนับสนุนเรื่องการศึกษา และเห็นด้วยกับการตั้งสมัชชาการศึกษาที่จะมีสถานประกอบการมาร่วมทำงานด้วยอยู่ระหว่างการเข้าไปพูดคุยทาบทามให้มาร่วมมือกันทำงาน

“การทำงานจะเชื่อมทุกภาคส่วนในจังหวัดเข้าด้วยกัน ซึ่งในจังหวัดสมุทรสาครผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัด โดยกรรมการพูดคุยกันว่าสมุทรสาครมีความหลากหลาย มีภาคอุตสาหกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรมก็จะพยายามดึงภาคอุตสาหกรรมเข้ามาช่วย เพราะเรื่องการพัฒนาการศึกษาต้องตอบโจทย์เรื่องจบไปแล้วมีงานทำด้วย”

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของสังคมที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สมัชชาการศึกษาจะดำเนินการอย่างไรให้ตอบโจทย์ครอบคลุม ซึ่งตอนนี้ยังบอกได้แค่คร่าวๆ ว่า กรอบการพูดคุยเบื้องต้น เรามองคนที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร หรือ มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดสุมทรสาคร ไม่ได้พูดถึงแค่เด็กอย่างเดียว แต่พูดตั้งแต่เรื่องเด็กปฐมวัยไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งที่เป็นคนไทย และไม่ใช่คนไทย มีการพูดไปถึงเรื่องการศึกษาเพื่อผู้สูงอายุด้วย

ในแง่ความร่วมมือการทำงานร่วมกับ กสศ.​ ยังไม่ได้พิจารณาในรายละเอียด แต่อย่างน้อยที่สุดน่าจะเป็นหน่วยงานผลักดันด้านวิชาการให้เกิดการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้ที่มีเรื่องสมัชชาการศึกษาที่ทางกองทุนได้ทำไว้ หรือการตั้งโจทย์ที่ กสศ. มีงานวิจัย และมองว่าจะส่วนช่วยสนับสนุนการทำงานได้ กสศ. น่าจะมีสิ่งที่เคยทำไว้แล้ว ทั้งประสบความสำเร็จ และล้มเหลว เราจะได้รู้ว่าตรงไหนควรทำหรือตรงไหนควรหลีกเลี่ยง

“เบื้องต้นมองว่าเป้าหมายสมัชชาการศึกษาสมุทรสาครจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งจังหวัดอย่างเห็นผล เรามองเห็นภาคราชการขับเคลื่อนภายใต้หลักเกณฑ์ระเบียบกฎหมายที่กำหนดไว้ สมัชชาการศึกษาคือภาคส่วนที่ไม่ใช่ข้าราชการเป็นส่วนที่เขาสามารถทำในส่วนที่ราชการทำไม่ได้ นั่นหมายความว่าราชการทำตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนสมัชชาทำสิ่งที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ สองส่วนนี้ผมมองว่าจะเป็นวงกลมทั้งวงที่ทำงานขับเคลื่อนไปพร้อมกัน”

ทั้งนี้ ในส่วนของแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดจะต้องอาศัยสมัชชาเป็นหน่วยที่ช่วยวิเคราะห์ผลักดันขับเคลื่อนการศึกษา ของทั้งจังหวัดสมุทรสาคร ศึกษาธิการจังหวัดต้องทำแผนพัฒนาการศึกษาเพื่อตอบสนองโจทย์ของจังหวัด ตอบสนองประแทศ เราอยู่ในภาคราชการอาจจะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนที่อยู่ในสมัชชาผลักดันขับเคลื่อนข้อเสนอตามที่ต้องการขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดกรอบการพัฒนาที่ชัดเจนและขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกัน

สำหรับกรอบเวลาการทำงาน นายอาคม  ระบุว่า ยังตอบไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ในช่วงปีนี้น่าจะเกิดสมัชชาขึ้น ส่วนเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ขอบเขตการทำงานยังพูดคุยกันแค่สองสามครั้ง ยังไม่ได้ลงรายละเอียดโรดแม็ประยะสั้นจะเป็นอย่างไร แค่ในเฟสแรกจะเกิดสมัชชาขึ้นในปีนี้ และกำลังคิดว่าจะมอง output ที่ออกมา output แรกควรจะเป็นอะไร จะได้เห็นกรอบการทำงานร่วมกัน ว่าจะพัฒนาการศึกษาสมุทรสาครไปในทิศทางไหน

รวมทั้งน่าจะขับเคลื่อนการทำงานต่อจาก “สมุทรสาครโมเดล” ที่ได้เริ่มไปแล้วก่อนหน้านี้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งทางจังหวัดได้เข้าไปดูแลปัญหาเรื่องความรู้ถดถอย ที่ทางสมัชชชาการศึกษาน่าจะได้ขับเคลื่อนประเด็นนี้ต่อไป เพราะวันนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการก็มองเรื่องนิวนอร์มอลไปในอนาคต ทั้งเรื่องที่ไม่สามารถหาอุปกรณ์สมาร์ทดีไวส์ ให้เด็กได้เรียนออนไลน์ได้ และกระทรวงศึกษาธิการมีโครงการพี่ช่วยน้อง หากมีสมัชชาการศึกษาขึ้นมาก็จะเข้ามาช่วยดูแลในส่วนนี้ได้อีกด้วย ​

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2