เงินและลูกมาก่อน ฝันเรื่องเรียนจึงอยู่ถัดไป : เรื่องเล่าของ ‘แม่วัยรุ่น’ และการสร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์ชีวิตของ ‘กลุ่มฅนวัยใส’

เงินและลูกมาก่อน ฝันเรื่องเรียนจึงอยู่ถัดไป : เรื่องเล่าของ ‘แม่วัยรุ่น’ และการสร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์ชีวิตของ ‘กลุ่มฅนวัยใส’

การเป็นนักศึกษาวิชาทหารจนได้ยศมาติดหน้าชื่อ จะทำให้การสอบเข้าหลักสูตรพยาบาลทหารง่ายขึ้นไปอีก เด็กหญิงแยมจึงขอพ่อว่าจะไปเรียนรด. และพ่อของเธอก็ไม่ได้มีคำค้านอะไร

แต่พอลาออกมาคลอดลูก แยมกลับมีโรคหอบและโรคเลือดจางเป็นโรคประจำตัว ทำให้ต่อให้เรียนกศน. (สกร.ในปัจจุบัน) และได้วุฒิม. 3 ก็ไม่สามารถสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหารได้

“แยมดรอปยาวๆ ตั้งแต่มีลูก เพิ่งกลับมาเรียนปี 2566 เพราะพ่ออยากให้กลับไปเรียน”

เด็กหญิงแยมเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้านระยะหนึ่ง ก่อนจะสมัครเรียนกศน. (สกร.ในปัจจุบัน) เพื่อเอาวุฒิ และกลับไปเรียนปวช. หลังจากพ่อของแยมขอให้ไปเรียนต่อให้จบ และปู่ย่าอาสาที่จะดูแลลูกให้ แยมจึงสามารถกลับไปเรียนอีกครั้ง แม้ว่าจะเข้าเรียนช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันก็ตาม

ซึ่งการเข้าเรียนช้า ทำให้แยมที่ใกล้จะ 20 ปี คงไม่อยากเรียนปวส. ต่ออีกแล้ว เพราะอายุเท่านี้ก็อยากทำงานหาเงินมากกว่า

“พ่ออยากให้เรียนให้จบ ปวส. แต่แยมเอาแค่ปวช. ตอนนี้มันจะ 20 แล้ว ไม่อยากเรียน อยากทำงาน อยากมีอะไรเป็นของตัวเองมากกว่า”

แม้จะมีเรื่องราวที่แตกต่างกัน แต่ภาพที่ทั้งสองคนมองเห็นในเส้นทางอนาคตของตัวเอง คือการมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มากกว่าภาพของตัวเองที่กำลังใส่ชุดนักศึกษา

ถ้าเส้นทางนี้มีจุดพัก มีใครสักคนยื่นโอกาสมาให้ ไม่ต้องกังวลว่าวันนี้จะได้เงินเท่าไหร่ ลูกจะกินอะไร พวกเขาก็มีความฝันที่จะได้เรียนต่อ แต่ตอนนี้เรื่องปากท้องต้องมาก่อน

“ถ้ามีคนช่วยดูลูกให้ หนูก็อยากเรียนต่อนะ” ข้าวปุ้นกล่าว

ถ้าสวัสดิการประทังชีพได้ ไม่ว่าใครก็อยากมา

“เขาบอกว่าสวัสดิการของที่นี่ดี ก็เลยมา”

แยมรู้จักกลุ่มฅนวัยใสจากคำแนะนำของรุ่นพี่ที่รู้จัก โดยเขาบอกแยมว่าแค่มาเข้าร่วมกลุ่ม นั่งอ่านนิทานให้ลูกฟัง ก็ได้ของกลับบ้าน ซึ่งแยมเข้าร่วมกลุ่มเป็นเวลา 5 ปีแล้ว และชวนเพื่อนอีก 4-5 คนที่เป็นแม่วัยรุ่นเหมือนกันมาเข้าร่วม

“เวลามีกิจกรรมเขาจะแจ้ง เราเลือกได้ว่าจะมาไม่มา ถ้าแยมว่างแยมก็จะมาตลอดเลย”

“ถ้าช่วงที่ไปทำงานจะตื่น 6 โมงเช้าเพื่อจัดการตัวเอง แล้วค่อยไปจัดการลูก หลังจากนั้นจะพาลูกไปส่งโรงเรียนก่อนจะออกไปงาน พอเลิกงานตอน 5 โมงก็ค่อยมารับลูกกลับบ้าน พากินข้าว อาบน้ำ นอน”

กิจวัตรประจำวันของข้าวปุ้น วัย 16 ปีดำเนินซ้ำแบบนี้แทบทุกวัน แต่สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับเธอยังคงเป็นการกล่อมลูกเข้านอน เพราะเด็กเล็กนอนยาก

แต่ถ้าวันไหนที่โรงเรียนปิด กิจวัตรประจำวันก็จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นการให้เวลากับลูกทั้งวันแทน เช่นการพาลูกออกไปเที่ยวห้างด้วยกัน เพราะตายายของข้าวปุ้นมีงานของตัวเอง จึงไม่มีใครดูแลลูกให้ หากจะไปฝากตามสถานที่รับฝากรายวัน ก็จะต้องเสียเงินเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ต่อวัน

ต่างกับแยม วัย 19 ปี ที่ปู่ย่าคอยดูแลลูกสาวของเธอให้ ส่วนแยมต้องออกมาอาศัยใกล้โรงเรียนเทคนิคในตัวอำเภอเมืองจะเจอลูกอีกทีก็ต้องรอวันหยุด เพราะระยะทางในการไป-กลับครั้งหนึ่งมากกว่า 10 กิโลเมตร

“แยมตื่นไปวิทยาลัยตอน 6 โมงครึ่ง แต่เลิกตอนไหนแล้วแต่วัน พอเลิกเรียนก็กลับมาบ้านแต่ไม่ได้อยู่กับลูก มีบางศุกร์ที่ออกไปเที่ยวกับเพื่อนบ้าง แต่เสาร์-อาทิตย์จะกลับไปอยู่กับลูกทั้งวัน”

ตอนนี้แยมกำลังเรียนปวช.ปีที่ 3 และฝึกงานที่บริษัทโลจิสติกส์แห่งหนึ่งควบคู่ไปกับการทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหาเงินส่งตัวเองเรียน และแบ่งให้ลูกบ้างหากที่บ้านโทรมาบอกว่า ‘น้องแกมมี่’ ลูกสาวของแยมมีเรื่องที่ต้องใช้เงิน

(จากซ้าย) แยม, ข้าวปุ้น กลุ่มฅนวัยใส

ถึงไลฟ์สไตล์ของแยมและข้าวปุ้นจะต่างกัน แต่เมื่อไหร่ที่กลุ่มฅนวัยใส หรือ‘หน่วยการเรียนรู้กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่’ 1 ใน 40 หน่วยการเรียนรู้ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งคู่ก็จะขับมอเตอร์ไซต์เข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยากร การฝึกทำอาหาร หรือแม้แต่มารับสวัสดิการที่ทางกลุ่มมอบให้

การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคนทุกคน แต่เพราะการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องใช้เงิน ทำให้เด็กหลายคนหลุดจากระบบการศึกษา และในกรณีของพ่อแม่วัยรุ่นนั้น การกลับเข้าสู่ระบบการศึกษานั้นเป็นเรื่องยาก เพราะพวกเขาจำเป็นจะต้องมีเวลาและค่าใช้จ่ายให้กับอีกชีวิตภายใต้การดูแลของตัวเอง

“ตั้งแต่เราดูแลเด็กมา 8-9 ปี แม่วัยรุ่นทั้งหมดที่มาร่วมเรียนรู้ทั้งหมด 400 กว่าคน มีคนกลับไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยประมาณ 2 คน และกลับเข้าโรงเรียนไม่เกิน 10 คน” เอมมี่-สุดาพร นาคฟัก ผู้รับผิดชอบหน่วยการเรียนรู้กลุ่มฅนวัยใส อธิบาย

เพราะอย่างน้อยๆ การมาที่นี่นอกจากจะได้ทักษะและทุนในการไปต่อยอดอาชีพ เลี้ยงตัวเอง เลี้ยงลูกแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่พวกเขาสามารถมานั่งคุยกับคนที่พร้อมรับฟัง คนที่เข้าใจ และคนหัวอกเดียวกันได้

เอมมี่ สุดาพร นาคฟัก

ถ้าโดนผลัก ก็ยากที่จะกลับ 

‘อยากเรียนให้จบ’ ‘มีงานที่มั่นคงทำ’ ‘ดูแลคนที่บ้านได้’

ข้อความเหล่านี้คือความฝันแสนเรียบง่ายของข้าวปุ้น ไม่ได้หวือหวา แต่เส้นทางพิชิตฝันนั้นกลับตรงกันข้าม

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการบังคับใช้ ‘พ.ร.บ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2559’ เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเรียนต่อของพ่อแม่วัยรุ่นที่ทำให้ตัวเลขการหลุดจากระบบการศึกษาของเยาวชนลดลง แต่พ่อแม่วัยรุ่นยังคงเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัวจากการตั้งครรภ์ อาทิ ปัญหาปากท้อง ทำให้ส่วนมากจะตัดสินใจลาออก

ข้าวปุ้นเล่าว่า เธอรู้ว่าตัวเองท้องตอนเปิดเทอมขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แม่ของข้าวปุ้นจึงเข้าไปคุยกับครูประจำชั้นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ครูประจำชั้นจึงแนะนำให้ดรอปเรียนและให้ข้าวปุ้นส่งงานจากที่บ้าน ถ้าคลอดเมื่อไหร่ค่อยกลับมา

“ครูให้ดรอปตั้งแต่เรารู้ว่าท้อง เพราะเราท้องได้ 7 เดือนแล้ว ตอนนั้นมันดูไม่ออก แล้วเขาก็ให้เราทำงานมาส่งแทน ตอนนั้นมันเป็นช่วงโควิดที่ต้องเรียนออนไลน์ด้วย ก็เลยไม่ได้มีปัญหาอะไร”

แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว และภาระที่ต้องดูแลลูก ข้าวปุ้นจึงเรียนต่อถึงแค่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนจะขอลาออกมาเรียนนอกระบบต่อ จะได้มีเวลาดูแลลูกและมีเวลาทำงานหาเงินมาใช้จ่าย

“ครูเขาเคยเป็นแบบนี้มาก่อน เขาเลยไม่ว่าอะไรเรา”

แม้ว่าครูประจำชั้นจะเข้าใจเพราะเคยมีประสบการณ์แบบเดียวกัน แต่พอข้าวปุ้นไปฝากครรภ์กลับเจออคติของสังคม จากการพูดจาต่อว่าของพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการ ทั้งการพูดจาเชิงเสียดสีว่าอายุยังน้อยแต่ดันมีลูกให้พ่อแม่เลี้ยงให้ และการดูถูกฐานะทางบ้านของข้าวปุ้นเพราะเธอใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการฝากครรภ์

“เขาไม่คุย ไม่แนะนำอะไร แต่บอกว่า อายุแค่นี้ ประจำเดือนมาแค่ 3 เดือนเองนะ สงสารพ่อแม่ที่ต้องมาเลี้ยงหลาน เรียนก็เรียนไม่จบ หนูเลยตอบว่ามีปัญญาเลี้ยงค่ะ แล้วไม่คุยกับเขา ให้พยาบาลคนอื่นมาทำงานแทน”

“แล้วเขาก็พูดใส่แบบเหยียดๆ ว่า ถ้ามีเงินแล้วทำไมไม่ไปเอกชน เพราะเราใช้บัตร 30 บาท แต่เรามาฝากที่นี่เพราะแม่ก็คลอดลูก 3 คนที่นี่ เราอยากเซฟค่าใช้จ่ายด้วย ตอนนั้นเลยต้องทนๆ เอา”

สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้สำหรับข้าวปุ้นคือลูกและยาย ข้าวปุ้นจึงวางแผนว่าจะเรียน สกร. ให้ได้วุฒิ และไม่คิดจะเรียนต่อ เพื่อจะได้หางานที่มั่นคงทำ มีเงินจุนเจือครอบครัว และส่งลูกเรียนให้จบในอนาคต

ความพร้อมของครอบครัวสำคัญ 

พอเราถามแยมเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเอง แยมเล่าว่ามีความคล้ายกัน เพราะแยมมีช่วงที่หยุดเรียนเพื่อเลี้ยงลูกอยู่ที่บ้าน แต่ตอนนี้ได้กลับมาเรียนปวช. เพราะภาระการเลี้ยงลูกไม่ได้อยู่ที่แยม 100%

“แยมไม่เคยเจอเพื่อนที่โรงเรียนตอนท้อง เพราะเรารู้ตอนปิดเทอม ม.2 เทอมแรก พอเรารู้เราก็ไม่กลับไปโรงเรียน ไม่ได้ทำเรื่องลาออก หายออกมาเฉยๆ เลย ตอนเรียนสมัครเรียนกศน. (สกร.ในปัจจุบัน) เลยต้องใช้วุฒิป. 6”

แยมตั้งท้องตอนอยู่ระดับชั้นม. 2 และกว่าจะรู้ว่าท้อง อายุครรภ์ก็ได้ 6 เดือนแล้ว เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมาเธอมีเลือดออกกะปริบกะปรอยทุกเดือน จึงไม่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่พอรู้สึกว่ามีอะไรดิ้นอยู่ในท้อง จึงตัดสินใจซื้อที่ตรวจครรภ์มาตรวจ ทำให้หลังจากนั้นแยมออกจากโรงเรียนทันที

เราเลยถามแยมต่อว่า ถ้าบอกครูคิดว่าจะได้เรียนต่อไหม ซึ่งแยมตอบกลับทันทีว่าอาจจะไม่ได้เรียนอยู่ดี เพราะที่ผ่านมาเวลาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ไม่มีใครได้เรียนต่อในโรงเรียนสักคน และโรงเรียนคงไม่ยอมเสียชื่อเสียง

“เมื่อก่อนเคยอยากเป็นพยาบาลทหาร อยากเรียนรด. (รักษาดินแดน) เพราะถ้าเรียนครบ 5 ปีแล้วจะได้คำนำหน้าชื่อว่า ว่าที่ร้อยตรีหญิง”

อาชีพพยาบาลทหาร คืออาชีพที่เด็กหญิงแยมในวัยมัธยมต้นใฝ่ฝัน ซึ่งถ้าเคยผ่าน“แยมคิดว่าการมาที่นี่ทำให้สบายใจ เพราะเราทุกคนเหมือนกัน มีลูกเหมือนกัน คุยกันได้” แยมเสริม

ส่วนข้าวปุ้นเข้าร่วมกลุ่มฅนวัยใสเพราะครูที่โรงเรียนมัธยมศึกษาในตอนนั้นประสานให้ เจ้าหน้าที่ของกลุ่มจึงมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านของเธอ และชักชวนเข้ากลุ่ม ซึ่งตอนแรกข้าวปุ้นเข้าใจว่าหน่วยงานนี้มีความคล้ายคลึงกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ แต่พอมาอบรมและเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มฅนวัยใสก็รู้สึกได้ว่าที่นี่สบายใจและยืดหยุ่นกว่าที่คิด

“หนูมาทุกอาทิตย์ มีการแนะนำอาชีพให้ เช่นการทำขนม เขาสอนละเอียดมากและเอาไปต่อยอดได้ ถ้าเราสนใจต่อยอดเขาก็จะให้ทุนไปประกอบอาชีพคนละ 3,000 แล้วพี่เอมมี่จะเป็นคนจัดการซื้อของต่างๆ มาให้”

การจัดกิจกรรมของกลุ่มฅนวัยใสเกิดขึ้นเดือนละ 2 ครั้ง แต่มีบางเดือนที่จัด 4 ครั้ง หรือไม่ก็จัดติดต่อกันหลายวัน ซึ่งกิจกรรมมีการหมุนเวียนที่หลากหลาย ทั้งการอบรมทั่วไป อย่างวิธีการใช้ชีวิต สอนวิธีทำกับข้าวให้ลูกกิน สอนทำรายรับรายจ่าย สอนแต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน และการฝึกทักษะวิชาชีพ เช่น สอนทำขนมเบเกอรี่และอาหารว่าง

แต่ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าเด็กทุกคนจะสนใจมาทำกิจกรรม เพราะความสนใจของพ่อแม่วัยรุ่นในโครงการนั้นมีความหลากหลาย ไหนจะปัจจัยเฉพาะคน อย่าง ปัจจัยปากท้อง เพราะสำหรับบางคน ถ้ามาร่วมกิจกรรมแล้วไม่ได้เงิน ก็ไปทำงานดีกว่า

ที่ผ่านมากลุ่มฅนวัยใสจึงมีการปรับกระบวนการหลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้พ่อแม่วัยรุ่นมีส่วนร่วมกับกิจกรรมอย่างมีคุณภาพให้ได้มากที่สุด เช่นการปรับจากการจัดกิจกรรมระยะยาวเป็นการจัดกิจกรรมที่มาครั้งเดียวแล้วจบ เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเด็กที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เขาจะกลับมาร่วมกิจกรรมในครั้งหน้าหรือเปล่า

รางวัลตอบแทนที่จะมอบให้กับเด็กแต่ละคนนั้นก็ไม่เหมือนกัน บ้างก็เป็นเงิน บ้างก็เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร บ้างก็เป็นของใช้สำหรับลูก ซึ่งต่อให้อยู่ในกลุ่มฅนวัยใสแต่ไม่มาร่วมกิจกรรมก็จะไม่ได้รับสวัสดิการเหมือนคนที่มา หรือต่อให้มาร่วมกิจกรรมแต่มาสายกว่าเวลาที่นัดไว้ก็จะไม่ได้ค่าตอบแทนเท่ากับคนที่มาถึงตรงเวลา เงื่อนไขที่สร้างขึ้นนี้จึงส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของเหล่าพ่อแม่วัยรุ่น และช่วยฝึกวินัย ทำให้พ่อแม่วัยรุ่นพัฒนาตนเองให้เคารพกติกาของกลุ่มได้

การมาทำกิจกรรมกับกลุ่มฅนวัยใส จึงไม่ใช่การมาทำกิจกรรมให้จบไป แต่มาเพื่อให้ได้ทุนในการดำเนินชีวิตต่อ แม้สิ่งที่ได้กลับไปในบางครั้งอาจไม่ใช่เงิน เช่น ไข่ไก่ แต่อย่างน้อยแม่วัยรุ่นก็ได้อิ่มท้องไปอีกหลายมื้อ ประหยัดเงินไปได้อีกหลายวัน

หลักสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตัดวงจรปัญหาที่จะเกิดซ้ำ

“ไม่ใช่ทุกคนที่หลังจากคลอดลูกก็เรียน สกร. ได้เลย เขายังต้องเลี้ยงลูกอีก 1 – 2 ปี ให้ลูกโตพอที่จะฝากไว้กับคนที่บ้านได้ ซึ่งตอนท้องแก่หรือเพิ่งคลอดลูกใหม่ๆ ไม่มีใครคิดเรื่องการเรียนเลย เอาเรื่องปากท้องกับการดูแลลูกก่อน”

การกลับเข้าสู่ระบบของพ่อแม่วัยรุ่นเป็นเรื่องยาก เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือ เงิน และลูก การดันหลังให้พ่อแม่วัยรุ่นกลับเข้าสู่ระบบทั้งที่ปัจจัยในชีวิตไม่พร้อมนั้นเป็นไปไม่ได้ และต่อให้กลับเข้าสู่ระบบก็มีโอกาสที่จะหลุดออกมาอีกครั้ง

กรอบการทำงานของ ‘หน่วยการเรียนรู้กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่’ จึงไม่ใช่การพาเด็กกลับเข้าสู่ระบบ แต่เป็นการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของพ่อแม่วัยรุ่นอย่างเรื่องปากท้อง ด้วยการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตและทักษะด้านวิชาชีพ ให้พ่อแม่วัยรุ่นสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเอง

“การกลับเข้าไปเรียนต้องใช้เงิน การจัดกิจกรรม การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ หรือสวัสดิการของเรา จึงเน้นไปที่เด็กต้องการอะไรในตอนนี้ มากกว่าผลักให้เขาไปเรียนให้จบ”

เอมมี่อธิบายว่ากระบวนการทำงานของหน่วยการเรียนรู้กลุ่มฅนวัยใสในช่วงต้นเริ่มจากข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการอุดหนุนเงินเด็กแรกเกิดที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการคัดมาให้ ร่วมกับการประสานงานไปยังโรงพยาบาลสารภี ซึ่งในภายหลังแม่วัยรุ่นที่มาร่วมกิจกรรม มาจากการใช้วิธีเพื่อนชวนเพื่อน

แม่วัยรุ่นที่เข้าร่วมหน่วยการเรียนรู้กลุ่มฅนวัยใสมีทั้งกลุ่มที่กำลังตั้งครรภ์และกลุ่มที่คลอดแล้ว อีกทั้งยังมีพื้นหลังครอบครัวที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องมีการเยี่ยมบ้านและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม เช่น สอนวิธีทำอาหารให้ลูกกินสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้ว พร้อมกับมอบอุปกรณ์เครื่องครัวให้หากที่บ้านของแม่วัยรุ่นไม่มี

เอมมี่มองว่า แม่วัยรุ่นเหล่านี้ล้วนเจอกับปัญหาทางเศรษฐกิจ หากพวกเขาสามารถพัฒนาตัวเองจากทักษะวิชาชีพได้ สร้างรายได้ให้กับตัวเองได้ พวกเขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และทำให้ลูกของพวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาได้สำเร็จ ไม่เกิดวัฏจักรการหลุดจากระบบซ้ำอีกครั้ง

ซึ่งสอดคล้องกับความคาดหวังที่แยมมีต่อน้องแกมมี่ ลูกสาวของตัวเอง

“แยมไม่หวังอะไรกับลูก ขอแค่ให้มันเรียนจบมีงานทำก็พอแล้ว ไม่ต้องมาทำงานหาเงินเองแบบแยม อยากให้เขาเรียนให้จบ ไม่ต้องมามีลูกหรือเป็นอะไรที่เหมือนกับที่แยมเป็นก็พอ”

นอกจากการส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ให้กับพ่อแม่วัยรุ่น กลุ่มฅนวัยใสต้องทำงานร่วมกับชุมชนรอบข้างด้วยเช่นกัน

ที่ผ่านมามีเด็กมาเล่าให้เอมมี่ฟังว่า พวกเขาถูกป้าๆ ซุบซิบนินทา เอมมี่จึงต้องการหาโอกาสเข้าไปพูดคุยเพื่อลดอคติ โดยไม่ลืมที่จะเสริมความเข้มแข็งจากภายในให้กับเด็กในโครงการ เพราะไม่ว่าอย่างไรเด็กในโครงการก็ต้องอยู่ในสังคมที่ต่างคนต่างความคิด หากมีคนเข้าใจก็ย่อมมีคนไม่เข้าใจเช่นกัน

“เวลาคนในชุมชนเห็นเด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิงซ้อนมอเตอร์ไซต์กันแล้วมีลูกเล็กด้วย คนเขาก็จะมอง จะนินทา พอเด็กของเรามาบอกว่าเขาโดนนินทา แล้วคนที่นินทาเป็นเจ้าของร้านที่เราเป็นลูกค้า เราก็จะเข้าไปคุยเพื่อให้เขาเข้าใจมากขึ้น”

“พอเด็กๆ ของเราไปอุดหนุนเขาบ่อยๆ เขาก็ลดอคติลง หลังจากนั้นเวลาเขาเจอวัยรุ่นคนไหนมีลูก เขาก็จะแนะนำให้มาหากลุ่มฅนวัยใส”

ในมุมของเอมมี่ การสร้างความเข้มแข็งจากภายในไม่ใช่การทำให้ปัญหาท้องในวัยเรียนเป็นเรื่องปกติ แต่เป็นการพัฒนาศักยภาพของเด็กคนหนึ่งที่พลาดพลั้งมีลูก ให้กลับมามีชีวิตปกติในสังคมได้อีกครั้ง และตัดวงจรไม่ให้ลูกของเขากลายเป็นพ่อแม่วัยรุ่นในอนาคต