คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างต้องการ : ปลุกพลัง สร้างโอกาส นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ยุค 4.0

คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างต้องการ : ปลุกพลัง สร้างโอกาส นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ยุค 4.0

การพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกำลังแรงงานของคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเท่าทันกับกระแสโลก การเลือกเรียนในสายอาชีพอันเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานในอนาคต จึงถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าและเติบโตขึ้นได้

ดร.กิตติพันธ์ ใจดี ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กล่าวกับนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง บนเวที ‘ปลุกพลัง สร้างโอกาสแห่งอนาคต กับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ปีการศึกษา 2566’ ซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี ด้วยหัวข้อ ‘คนรุ่นใหม่แบบไหนที่มัดใจนายจ้าง ยุค 4.0’ โดยระบุว่า ระบบการศึกษาและบุคลากรด้านการศึกษาทุกกลุ่ม เป็นเสมือนฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 นักศึกษาโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง ทั้งที่กำลังเรียนอยู่ และจบการศึกษาไปแล้ว จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

ดร.กิตติพันธ์ ใจดี ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

เศรษฐกิจอุตสาหกรรมยุค 4.0 คือการใช้ความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศทั้งระบบ นายจ้างยุคใหม่ต้องปรับตัวและพัฒนาธุรกิจของตนเองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมจะขับเคลื่อนองค์กรให้มีศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความตื่นตัวของนายจ้างยุคใหม่ได้ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดแรงงานยุคปัจจุบันและอนาคตเข้มข้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้นักศึกษาโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงจึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่นี้ ด้วยการเพิ่มพูนทักษะตัวเองให้มีคุณสมบัติที่ตรงใจนายจ้าง

ดร.กิตติพันธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนายจ้างส่วนใหญ่ต้องการผู้ร่วมงานมีภาวะความเป็นผู้นำ เป็นบุคคลที่มีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน กล้าคิดและกล้านำเสนอ สามารถสร้างความร่วมมือให้ทุกคนเดินหน้าทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความสำเร็จได้ ซึ่งคุณสมบัติของความเป็นผู้นำ นับเป็นองค์ประกอบการทำงานที่สำคัญมาก เพราะสิ่งนี้จะช่วยหนุนเสริมให้บริษัทหรือองค์กรแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งที่นายจ้างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากก็คือ การบริหารจัดการเวลา เพราะโลกยุคใหม่ถูกเทคโนโลยีคอยกำกับให้ทุกอย่างขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว แต่เทคโนโลยีก็ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหารจัดการเวลาให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องฝึกจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำในแต่ละวัน ฝึกวางแผนการเรียนรู้ วางแผนการทำงาน เพื่อแสดงถึงศักยภาพในการบริหารเวลา และสร้างอุปนิสัยที่ดีให้กับตัวเอง

คนวัยทำงานรุ่นใหม่ต้องตระหนักถึงการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ๆ ในองค์กร ต้องเข้าใจบทบาทของแต่ละคน และสามารถสื่อสารให้แต่ละหน่วยงานในองค์กรเข้าใจสิ่งที่กำลังจะถ่ายทอดออกไป ความเข้าใจร่วมกันนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตามวัตถุประสงค์ ไปจนถึงสร้างทีมเวิร์กที่ดีได้

คุณสมบัติของคนทำงานยุคใหม่ที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่งก็คือ ความสามารถในการก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะสังเกตได้ว่าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นจนยากจะคาดเดา เพราะโดยปกติแล้วเทคโนโลยีนั้นมักจะถูกคิดล่วงหน้า หรืออาจจะล้ำหน้าไปแล้วถึง 20 ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่ถูกคิดค้นเหล่านั้นยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะคนส่วนใหญ่ยังตามไม่ทัน เทคโนโลยีหลายสิ่งในอนาคต แต่การเปลี่ยนแปลงย่อมจะมาถึงในที่สุด ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของทุกคนเพื่อให้รับมือได้ทันต่อเหตุการณ์ จึงจำเป็นต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าเช่นกัน 

ดร.กิตติพันธ์ กล่าวต่อไปว่า คนรุ่นใหม่จะต้องพยายามแก้ไขจุดอ่อนอีกข้อหนึ่ง นั่นคือ ความสามารถด้านภาษาและทักษะการสื่อสารที่มากกว่าภาษาเดียว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทำงาน เพราะปัจจุบันคู่มือการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกนำเข้ามามักจะเป็นภาษาอื่น ซึ่งไม่ใช่ภาษาไทย ทักษะความสามารถทางด้านภาษาจึงถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญมากในอนาคต หลายคนอาจจะได้ทำงานร่วมกับบริษัทหรือกระทั่งหน่วยงานข้ามชาติ หรือองค์กรที่ต้องติดต่อกับชาวต่างชาติอยู่เสมอ หากมีทักษะภาษาดี จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ราบรื่นยิ่งขึ้น ซึ่งนายจ้างส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า การมีทักษะด้านภาษาและการสื่อสารที่ดี มีความสำคัญมาก

อีกข้อหนึ่งที่คนทำงานทุกคนควรจะต้องมี นั่นคือ การประเมินตัวเองเพื่อค้นหาจุดอ่อนจุดแข็ง มองหาสิ่งที่ยังเป็นปัญหา เพื่อจะหาคำตอบและนำสิ่งที่พบ มาสร้างโอกาสในการพัฒนาตัวเอง หาทางจุดประกายความมุ่งมั่นให้กับตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจที่จะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายการทำงานที่วางไว้ 

“คนรุ่นใหม่ต้องบอกตัวเองเสมอว่า ‘เราเป็นน้ำครึ่งแก้ว’ ต้องเป็นคนที่เปิดใจให้กว้างมากพอที่จะมองหาโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะเพื่อพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ สร้างโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ รับฟังเพื่อสร้างการเรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ”และข้อสุดท้ายที่สำคัญมาก ดร.กิตติพันธ์ ระบุว่า ไม่มีนายจ้างคนไหนหรือที่ทำงานใดต้องการคนเก่งเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการคนที่เก่ง แต่ไม่มีคุณธรรม นายจ้างทุกคนต้องการคนดี คนดีของครอบครัว คนดีของสังคม ที่กล่าวมาคือคุณสมบัติสำคัญของคนรุ่นใหม่ที่นายจ้างต้องการ ซึ่งเชื่อมั่นว่า นักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงทุกคนสามารถปฏิบัติได้

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาผ่านโครงการ Million Gift Million Smiles

จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15
    (เวียงเก่าแสนภูวิทยาประสาท)

จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนชลประทาน
    เขื่อนแม่กวงจิราธิวัฒน์อุปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านโป่งน้อย
  • โรงเรียนวัดสันคะยอม

จังหวัดลำปาง จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดเสด็จ

จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านท่าข้าม

จังหวัดตาก จำนวน 3 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2
  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 4
  • โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น

จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านควนเงิน
  • โรงเรียนบ้านท่าไทร
  • โรงเรียนวัดชะอวด
  • โรงเรียนวัดไม้เสียบ

จังหวัดตรัง จำนวน 11 โรงเรียน

  • โรงเรียนท่างิ้ว (ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
  • โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
  • โรงเรียนบ้านช่องลม
  • โรงเรียนบ้านทอนเหรียน
  • โรงเรียนบ้านท่าส้ม
  • โรงเรียนบ้านบางสัก
  • โรงเรียนบ้านวังลำ
  • โรงเรียนวัดทุ่งหินผุด
  • โรงเรียนวัดวารีวง
  • โรงเรียนหาดทรายทอง

จังหวัดนราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนบ้านบูเก๊ะตาโมงมิตรภาพที่ 128
  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา

จังหวัดพังงา จำนวน 2 โรงเรียน

  • โรงเรียนวัดนิโครธาราม
  • โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านบางทัน
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านจุโป
  • โรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนอัยเยอร์เวง

จังหวัดสงขลา จำนวน 18 โรงเรียน

  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า