“ปิดโรงเรียน” หนีโควิด-19 สะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลทั่วเอเชีย

“ปิดโรงเรียน” หนีโควิด-19 สะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลทั่วเอเชีย

ที่มารูป : edition.cnn.com

แปลและเรียบเรียง : นงลักษณ์ อัจนปัญญา

 

คำสั่งปิดโรงเรียน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของนานาประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย ไม่เพียงแต่มีผลทำให้การเรียนการสอนของเด็กนักเรียนหลายร้อยล้านคนในภูมิภาคแห่งนี้หยุดชะงักเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นภาพสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ สเตรทไทม์ส หยิบยกรายงานพิเศษของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ที่ระบุว่า นักเรียนเอเชียหลายล้านคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง เพราะไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมชั้นเรียนออนไลน์ หรือเข้าถึงเทคโนโลยีสำคัญที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนทางไกลได้

ทั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนออกโรงเตือนว่า จำนวนนักเรียนที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น หากการปิดโรงเรียนกินเวลายืดเยื้อนานออกไปอีก

ข้อมูลจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เปิดเผยว่า มีนักเรียนนักศึกษาและเยาวชนทั่วโลกราว 363 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน และจำนวนดังกล่าวมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น หากรัฐบาลหลายประเทศตัดสินใจขยายการบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์

Audrey Azoulay ผู้อำนวยการทั่วไปของยูเนสโก กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า ยิ่งการปิดโรงเรียนกินเวลานานมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้สิทธิทางการศึกษาของเด็กโดนริดรอนมากขึ้นเท่านั้น และเป็นหน้าที่สำคัญที่รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกจะสรรหามาตรการสำคัญ เพื่อทำให้แน่ใจว่า วิกฤติดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคน มีการใช้นวัตกรรมอย่างเหมาะสม และไม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาขยายวงกว้างมากขึ้น

รายงานระบุว่า ขณะนี้ โรงเรียนหลายแห่งทั่วโลกต่างหันมาใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล และแพล็ตฟอร์มทางการศึกษาออนไลน์ต่างๆ เพื่อเข้าถึงนักเรียนจากระยะไกล ทว่า ปัจจัยด้าน “Digital Divide” หรือ ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียมกัน ถือเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญของระบบการศึกษาทางไกลในหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย

ที่มาภาพ : straitstimes.com

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union (ITU)) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีประชากรโลกราว 4,100 ล้านคน หรือ 54% ที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ ขณะที่ เพียง 2 ใน 10 ของประชากรในประเทศด้อยพัฒนาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ศาสตราจารย์ Julian Thomas ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที ในออสเตรเลีย กล่าวว่า การเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านี้สะท้อนความไม่เท่าเทียมในกลุ่มประชากร และกลายเป็นผลลบต่อมิติทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ

“ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต กลายเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับครอบครัวรายได้ต่ำ และโครงสร้างพื้นฐานกับบริการที่จำเป็นสำหรับทุกคนในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่บ้านยังไม่เท่าเทียมกันเมื่อเทียบระหว่างพื้นที่ในเมือง ชนบท กับพื้นที่ห่างไกล” ศาสตราจารย์ Thomas กล่าว

ทั้งนี้ ครอบครัวรายได้ต่ำส่วนใหญ่มักจะพึ่งพาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่า ถึงจะสะดวกต่อการสื่อสาร แต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ก็ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นช่องทางสำหรับการเรียนหนังสือออนไลน์

แน่นอนว่า หลายครอบครัวหาทางออกด้วยการพึ่งพาการใช้งานเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ผ่านโรงเรียน ห้องสมุด และศูนย์ชุมชนต่างๆ ทว่า เมื่อมาตรการล็อคดาวน์เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ได้หมายถึงการปิดโรงเรียน แต่ยังรวมถึงการปิดสถานที่สาธารณะเหล่านี้ ก็ยิ่งทำให้นักเรียนในกลุ่มครอบครัวยากจนเสียประโยชน์มากขึ้น 

แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่ประเมินออกมาแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายก็ออกมายอมรับว่า หลายประเทศในเอเชียยังมีปัญหากับการเข้าไม่ถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ต และทำให้การเรียนการสอนออนไลน์ไม่ราบรื่น 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้มีเด็กนักเรียนต้องเรียนล้าหลังไม่ทันเพื่อนเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาอีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กหญิง ที่มักถูกมองว่า มีบทบาทเป็นช้างเท้าหลัง และต้องอยู่รับภาระเลี้ยงดูจุนเจือครอบครัวในสังคมเอเชีย

นอกจากนี้ แม้ว่าสถานการณ์ส่วนใหญ่จะเริ่มคลี่คลาย เมื่อหลายโรงเรียนในเอเชีย เริ่มกลับมาเปิดให้เรียนได้อีกครั้ง กระนั้น ความเสี่ยงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอก 2 ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หน่วยงานด้านการศึกษาและโรงเรียนทั่วเอเชีย เร่งจัดการกับ Digital Divide ที่เกิดขึ้นในลุล่วง

ที่มาภาพ : edition.cnn.com

โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางการเกาหลีใต้ มีคำสั่งปิดโรงเรียนทั่วกรุงโซลและพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบหลายร้อยแห่ง หลังจากที่เพิ่งเปิดเรียนได้เพียงไม่กี่วัน เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นจนน่าวิตก และประกาศให้ทำการเรียนการสอนออนไลน์ต่อไปอีกสักระยะ

 

ที่มา :

Hundreds of South Korea schools close again after reopening
Coronavirus: School closures in Asia expose digital divide

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 4 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย

จังหวัดยะลา จำนวน 15 โรงเรียน

  • โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน)
  • โรงเรียนคุรุชนพัฒนา
  • โรงเรียนบ้านตาเซะ
  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนบ้านกาตอง
  • โรงเรียนบ้านหลักเขต
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านเยาะ
  • โรงเรียนบ้านโต
  • โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะปันยัง
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม

จังหวัดปัตตานี จำนวน 16 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนนิคมสร้างตนเองโคกโพธิ์ มิตรภาพที่ 148
  • โรงเรียนบ้านบางมะรวด
  • โรงเรียนบ้านท่าน้ำตะวันออก
  • โรงเรียนบ้านน้ำบ่อ
  • โรงเรียนบ้านปาลัส
  • โรงเรียนบ้านตรัง
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านบูดี
  • โรงเรียนบ้านฝาง
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนสะนอพิทยาคม
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2

รายชื่อโรงเรียน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

จังหวัด นราธิวาส จำนวน 6 โรงเรียน

  • โรงเรียนผดุงมาตร
  • โรงเรียนสวนพระยาวิทยา
  • โรงเรียนราชพัฒนา
  • โรงเรียนนราสิกขาลัย
  • โรงเรียนพิทักษ์วิยากุมุง
  • บ้านบูเก๊ะตาโมง มิตรภาพที่ 128

จังหวัดสงขลา จำนวน 20 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านม้างอน
  • โรงเรียนวัดประจ่า
  • โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์
  • โรงเรียนบ้านป่าโอน
  • โรงเรียนชุมชนนิคม สร้างตนเองเทพา
  • โรงเรียนบ้านกระอาน
  • โรงเรียนบ้านวังใหญ่
  • โรงเรียนเทพา
  • โรงเรียนบ้านป่าเร็ด
  • โรงเรียนบ้านนาปรัง
  • โรงเรียนทับช้างวิทยาคม
  • โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน
  • โรงเรียนบ้านโคกตก
  • โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
  • โรงเรียนบ้านบาโหย
  • โรงเรียนเขาแดงกุศลวิทยา
  • โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • โรงเรียนบ้านพระพุทธ
  • โรงเรียนบ้านปากบางนาทับ
  • โรงเรียนบ้านคูนายสังข์

จังหวัดยะลา จำนวน 10 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านราโมง
  • โรงเรียนพัฒนาบาลอ
  • โรงเรียนบ้านโกตาบารู
  • โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ
  • โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส
  • โรงเรียนบ้านสะเอะ
  • โรงเรียนกาบังพิทยาคม
  • บ้านด่านสันติราษฎร์
  • อัยเยอร์เวง
  • บ้านจุโป

จังหวัดปัตตานี จำนวน 8 โรงเรียน

  • โรงเรียนวุฒิชัยวิทยา
  • โรงเรียนบ้านกระเสาะ
  • โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง
  • โรงเรียนบ้านน้ำดำ
  • โรงเรียนบ้านโลทู
  • โรงเรียนบ้านวังกว้าง
  • โรงเรียนวังกะพ้อพิทยาคม
  • บ้านบางทัน

รายชื่อโรงเรียน ภาคตะวันตก

จังหวัดตาก จำนวน 1 โรงเรียน

  • โรงเรียนบ้านร่มเกล้า 2