โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข
(ทุนเสมอภาค)
Conditional Cash Transfer

จัดสรรเงินอุดหนุนอย่างไร
ไม่ให้มีเด็กคนไหน ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แม้แต่คนเดียว

แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 54 ระบุให้รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ข้อเท็จจริงมีเด็กกลุ่มหนึ่งที่แม้จะได้เรียนฟรี แต่ความยากจนในระดับที่รุนแรงกว่า ยังเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถมาเรียนได้ เช่น ไม่มีค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง การช่วยเหลือลักษณะนี้จึงยังไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้าทางการศึกษาได้

จึงนํามาสู่โครงการ จัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไข (Conditional Cash Transfer: CCT) หรือทุนเสมอภาค ที่เริ่มต้นในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตั้งแต่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

โครงการนี้มีรากฐานจากงานวิจัย 3 เรื่องสําคัญ ได้แก่ บัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Account of Thailand : NEA) การวิจัยคัดกรองด้วยเครื่องมือการวัดรายได้ทางอ้อม (Proxy Means Test : PMT) และระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการ ศึกษา ที่กสศ. ร่วมมือกับ สพฐ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร นํามาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย “การปฏิรูปการจัดสรรงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” (Equity-based Budgeting) เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณให้เป็นไปตามอุปสงค์ (Demand-side Financing) ตรงตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในบริบทพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและบรรเทาอุปสรรคการมาเรียน นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมการศึกษา เป็นการช่วยลดความเหลื่อมลํ้าที่ต้นทาง ปกป้องเด็กไทย ไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา

การคัดกรองนักเรียนยากจน
ด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม Proxy Means Test : PMT
โดยประเมินจากข้อมูล 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1

ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน
(ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน)

ประเภทที่ 2

ข้อมูลสถานะครัวเรือน 8 ด้านได้แก่

สมาชิกครัวเรือนที่มีภาระพึ่งพิง

(ผู้พิการ/เจ็บป่วยเรื้อรัง
ผู้สูงอายุ หรือผู้ไม่มีรายได้)

การอยู่อาศัย

(บ้านตนเอง/บ้านเช่า/อยู่กับผู้อื่น)

ลักษณะที่อยู่อาศัย

ที่ดินทำการเกษตรได้

(รวมเช่า)

แหล่งน้ำดื่ม

แหล่งไฟฟ้า

ยานพาหนะในครัวเรือน

(ที่ใช้งานได้)

ของใช้ในครัวเรือน

(ที่ใช้งานได้)

ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท
จะถูกประมวลผลด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม (PMT)

โดยค่าน้ำหนักคะแนนความยากจนของครัวเรือน จะมีค่าแตกต่างกัน
ค่าน้ำหนักที่ได้จะถูกนำมาแปลงเป็นระดับค่าคะแนนความยากจน

เกณฑ์การคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขด้วยวิธีการวัดรายได้ทางอ้อม Proxy Means Test : PMT

1) ข้อมูลรายได้เฉลี่ยสมาชิกครัวเรือน ไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน
2) ข้อมูลสถานะครัวเรือน 8 ด้านได้แก่

นักเรียนทุนเสมอภาค

นักเรียนทุนเสมอภาคหมายถึง นักเรียนในครัวเรือนมีสมาชิกมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อเดือน ไม่เกิน 3,000 บาท และมีคะแนนความขาดแคลนทุนทรัพย์ (PMT) มากกว่า 50 คะแนน ขึ้นไป

ข้อมูลทั้ง 2 ประเภท จะถูกนำมาประมวลผล ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อหาคะแนนความยากจนของนักเรียนแต่ละคน

สำรวจอย่างแม่นยำ
ยืนยันตัวตนอย่างชัดเจน

กสศ. ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันด้วยพิกัดบ้าน ภาพถ่าย สภาพบ้านพร้อมรูปนักเรียนและสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งพิกัดและเวลาในการลงนามรับรองของคณะกรรมการเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กเหล่านั้นมีตัวตนจริงและอาศัยอยู่ในบ้านที่มีสภาพดังกล่าวจริง ซึ่งถือเป็นหลักฐานทางกายภาพที่สำคัญในการประกอบการพิจารณา (Hard Evidence)

2 เงื่อนไขสำคัญที่พิสูจน์ว่า
“เงินอุดหนุนนักเรียนทุนเสมอภาคมีประสิทธิภาพจริง”

อัตราการมาเรียนรายวัน

นักเรียนที่ได้รับการจัดสรรเงิน จะต้องรักษาอัตราการมาเรียนให้สูงกว่าร้อยละ 85 ของเวลาเรียนทั้งหมด (อัตราการมาเรียนสะท้อนความสุขในการเรียนและการขาดเรียนบ่อยเป็นสัญญาณเตือนของการหลุดออกจากระบบการศึกษา)

น้ำหนัก – ส่วนสูง

นักเรียนที่ได้รับการจัดสรรเงิน มีพัฒนาการที่สมวัยตามเกณฑ์มาตรฐาน (พัฒนาการของนักเรียน มีรากฐานมาจากภาวะโภชนาการและสุขลักษณะที่ดี น้ำหนัก-ส่วนสูงที่เป็นไปตามเกณฑ์สมวัย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ

จัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนตามหลักความเสมอภาค Equity Based
โดยกลุ่มยากจนที่สุด ได้รับเพิ่มเติมตามความจำเป็น เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายบรรเทา อุปสรรคการมาเรียน และป้องกันการหลุดจากระบบการศึกษา

จากปี 2561 – 2565 กสศ.สนับสนุนทุนเสมอภาค ให้นักเรียนรวมสะสม จำนวน

2,217,547 คน

อัตราเงินอุดหนุน
(ต่อคนต่อปี)

3,000 บาท

สถานศึกษา สังกัด สพฐ. อปท. ตชด. สช. พศ.และ กทม. ทั่วประเทศร่วมคัดกรอง

31,175 แห่ง

หมายเหตุ : ภาคเรียนที่ 2/2564

ลิงค์เพื่อการเข้าใช้งานระบบ และแหล่งข้อมูล

สถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

เว็บไซต์ “ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน” cct.thaieduforall.org
ดาวน์โหลด Application ผ่านสมาร์ทโฟน ค้นคำว่า “ปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน”

สถานศึกษาสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

เว็บไซต์ “ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน” dla.thaieduforall.org
ดาวน์โหลด Application ผ่านสมาร์ทโฟน ค้นคำว่า “คัดกรองทุนเสมอภาค

สถานศึกษาสังกัด กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)

เว็บไซต์ “ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน” bpp.thaieduforall.org
ดาวน์โหลด Application ผ่านสมาร์ทโฟน ค้นคำว่า “คัดกรองทุนเสมอภาค

สถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

เว็บไซต์ “ระบบคัดกรองทุนเสมอภาค” opec.thaieduforall.org
ดาวน์โหลด Application ผ่านสมาร์ทโฟน ค้นคำว่า “คัดกรองทุนเสมอภาค

สถานศึกษาสังกัด สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)

เว็บไซต์ “ระบบคัดกรองนักเรียนสามเณรทุนเสมอภาค” onab.thaieduforall.org

สถานศึกษาสังกัด กทม.

เว็บไซต์ “ระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน” bkk.thaieduforall.org
ดาวน์โหลด Application ผ่านสมาร์ทโฟน ค้นคำว่า “คัดกรองทุนเสมอภาค

ข่าวสาร

เรียนต่อ ม.ปลาย ถ้าสู้ด้วยผลการเรียน “หนูว่าหนูไม่แพ้” แต่หนูกำลังสู้กับค่าใช้จ่ายที่ยิ่งเรียนสูงก็ยิ่งแพง
18 มีนาคม 2567

เรียนต่อ ม.ปลาย ถ้าสู้ด้วยผลการเรียน “หนูว่าหนูไม่แพ้” แต่หนูกำลังสู้กับค่าใช้จ่ายที่ยิ่งเรียนสูงก็ยิ่งแพง

ความร่วมมือระดับพื้นที่ คือรากฐานที่แข็งแรงของหลักประกันโอกาสทางการศึกษาในท้องถิ่น
18 มีนาคม 2567

ความร่วมมือระดับพื้นที่ คือรากฐานที่แข็งแรงของหลักประกันโอกาสทางการศึกษาในท้องถิ่น

การเยี่ยมบ้าน เป็นประตูบานแรกของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในท้องถิ่น
18 มีนาคม 2567

การเยี่ยมบ้าน เป็นประตูบานแรกของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในท้องถิ่น

‘เรียนต่อ ม.4 ปัญหาอุปสรรคจากเสียงเยาวชนและคุณครู’ ชวนทุกคนร่วมฟังเพื่อสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาก่อนจะสาย
15 มีนาคม 2567

‘เรียนต่อ ม.4 ปัญหาอุปสรรคจากเสียงเยาวชนและคุณครู’ ชวนทุกคนร่วมฟังเพื่อสร้างหลักประกันโอกาสทางการศึกษาก่อนจะสาย

กสศ. รับสมัครนักเรียนทุนเสมอภาคชั้น ม.3 ให้มีโอกาสเรียนต่อ ม.ปลาย – ปวช. นำร่อง 7 จังหวัด ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2567
1 มีนาคม 2567

กสศ. รับสมัครนักเรียนทุนเสมอภาคชั้น ม.3 ให้มีโอกาสเรียนต่อ ม.ปลาย – ปวช. นำร่อง 7 จังหวัด ระหว่างวันที่ 1-31 มีนาคม 2567

กสศ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ‘นักเรียนทุนเสมอภาค’ สำรวจมุมมองและถอดบทเรียนโครงการทุนรอยต่อ เพื่อโอกาสการศึกษา ม.ปลาย ถึง ป.ตรี
27 กุมภาพันธ์ 2567

กสศ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ‘นักเรียนทุนเสมอภาค’ สำรวจมุมมองและถอดบทเรียนโครงการทุนรอยต่อ เพื่อโอกาสการศึกษา ม.ปลาย ถึง ป.ตรี

“เด็กทุกคนมีความฝัน แต่หลายคน
กลับไม่กล้าแม้แต่จะฝัน เพราะต้นทุนชีวิตน้อย
และขาดโอกาส”