ศบค.กำหนดมาตรการเข้มรับเปิดเทอม

ศบค.กำหนดมาตรการเข้มรับเปิดเทอม

จากการที่สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาอยู่ในระดับที่มีผู้ติดเชื้อลดลง ทำให้รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกมาตรการการเข้าออกเคหสถาน  หรือ เคอร์ฟิว พร้อมกับการคลายล็อค ระยะ 4  เพื่อให้ประชาชนสามารถออกมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

ขณะที่ กระทรวงศึกษาธิการด้ประกาศให้เปิดการเรียนการสอนในวันที่ 1 กรกฎาคมไปแล้วนั้น  ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.63 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ( ฉบับที่ 4 )

กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ขอนำรายละเอียดในราชกิจจานุเบกษาที่กล่าวถึงแนวปฏิบัติตามข้อกำหนดเเฉพาะในส่วนของสถาบันการศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย ระบุไว้ดังนี้ 

การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษา 2563 จึงผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรมของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเพิ่มเติมจากที่ได้กำหนดไว้แล้วตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 9) ลง วันที่ 29 พฤษภาคมพ.ศ. 2563 โดยให้โรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติสถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่มีการเ รียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาตามกฎหมายว่าด้วย โรงเรียนเอกชนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบคน สามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมได้

โดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในโรงเรียนหรือสถาบัน การศึกษาต้องดำเนินการจัดรูปแบบการเรียนการสอน สถานที่ รวมทั้งบุคลากรและเจ้าหน้าที่ให้มีความพร้อมสอดคล้องกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด รวมทั้งจัดระเบียบและระบบต่างๆ ให้เป็นไปตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการติดโรค การแพร่กระจายเชื้อและความปลอดภัยของผู้เรียนเป็นสำคัญ

ส่วนการเปิดเรียนและรูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีกำหนด

ทั้งนี้  ศบค. ได้กำหนดมาตรการควบคุมหลัก ดังนี้

 

 

  1. ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆ ทั้งก่อนและหลังการเรียนการสอน การฝึกอบรม สัมมนารวมถึงห้องสุขา และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน
  2. ให้ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ครู อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ร่วมกิจกรรม สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
  3. ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เพียงพอ เพื่อการล้างมือก่อนเข้าห้องเรียน และก่อนรับประทานอาหาร
  4. ให้เว้นระยะนั่งหรือยืนห่างกัน และเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะเรียนและที่นั่งเรียนอย่างน้อย 1 เมตร
  5. ให้ควบคุมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด ( กรณีห้องปรับอากาศให้คิดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามขนาดพื้นที่ห้อง เกณฑ์ไม่น้อยกว่า 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน ) หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็นโดยถือหลักหลีกเลี่ยง การติดต่อสัมผัสระหว่างกัน ทั้งนี้ให้พิจารณาปรับเวลา การเรียน  สลับวันเรียน ปรับการเรียนเป็นระบบออนไลน์ในบางรายวิชา  หรือปรับหลักสูตร ให้งดเรียนบางรายวิชา 
  6. ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบพิจารณาให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาดำเนินกิจการหรือจัดกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งให้คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบลงทะเบียนยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดก่อนเปิดกิจการ หรือจัดการฝึกอบรม สัมมนา
  7. ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทนได้

 

มาตรการควบคุมเสริม

  1. มีมาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อยจาม หรือเป็นหวัด สำห รับผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษาผู้ปกครอง และผู้ร่วมกิจกรรม ก่อนเข้าอาคารหรือรับ – ส่งนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ผ่านการอบรมการตรวจคัดกรองอาการป่วย และรายงานหน่วยงานรับผิดชอบ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคตามแนวทางที่กำหนด
  2. จัดให้มีการระบายอากาศภายในอาคารที่ดี รวมถึงภายในห้องสุขา ทั้งนี้ ให้ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และจัดการฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ
  3. จัดให้มีระบบคิว มีพื้นที่รอคิวที่มีที่นั่งหรือยืน ห่างกัน อย่างน้อย 1 เมตร ทั้งบริเวณ จุดรับประทานอาหาร ห้องน้ำ
  4. จัดให้มีการแนะนำผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้ร่วม กิจกรรม รวมถึงให้มีการตรวจตรา ควบคุม กำกับ การเรียนการสอน การฝึกอบรม สัมมนา และ งานธุรการที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรการ ควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
  5. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียน ก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบการเรียน การสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้มีการเรียนการสอน การฝึกอบรมรูปแบบใหม่ในระยะยาว

 

พร้อมกันนี้ กระทรวงศึกษาธิการ อว. และสธ. ออกคู่มือและเกณฑ์การปฏิบัติตามความเหมาะสมกับพื้นที่และประเภทของกิจการพร้อมทั้งประเมินความพร้อมตามเกณฑ์

ศปก.จังหวัด/กทม. ศปก.อำเภอ/เขต ศปก.ตำบลศ.ป ก. เทศบาลนคร ศปก.เทศบาลเมือง และศปก.เมืองพัทยา ติดตามกำกับ ดูแลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

นอกจากนี้ ศปม. จัดกำลังสายตรวจ ร่วม ตำรวจ ทหาร สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจการประกอบการ หรือการจัดกิจกรรม ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด