การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

การประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน 2022

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดการประชุมนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา:  ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน  (International Conference on Equitable Education: Together towards Equity) ร่วมกับภาคีสำคัญ Save the Children , SEAMEO,UNESCO Bangkok , UNICEF EAPRO และ UNICEF Thailand ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2565

นับตั้งแต่ต้นปี 2020 วิกฤตการระบาดใหญ่ของไวรัส COVID-19 ได้สร้างความท้าทายต่อรัฐบาลทั่วโลก รวมถึงครูและนักเรียน นำไปสู่การหยุดการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบทางไกลผ่านระบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าการเรียนรู้จะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังคงพบความแตกต่างกันอย่างมากในการจัดหาและแจกจ่ายอินเทอร์เน็ตแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีดิจิทัลยังคงมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เสมอภาคเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วถึงได้เสมอไป 

นอกจากนี้  หากแนวทางการสอนของครูขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ ยังจะทำให้ ‘ช่องว่างทางดิจิทัล’ ในระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิมทวีความรุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของรัฐบาลไปยังโรงเรียนที่ไม่เพียงพอ สวนทางกับรายงานการศึกษาที่สรุปภาพกว้างว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกระบบ หรือ out-of-school children, and youth (OOSCY) ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ และผู้เรียนที่อยู่ชายขอบ ในขณะที่เส้นทางสู่การฟื้นตัวกลับยังคงขาดความชัดเจนด้วยเหตุนี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้ความร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วน จึงได้ร่วมกันจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการศึกษาที่เสมอภาค ครั้งที่ 2 ขึ้น ภายใต้หัวข้อ มุ่งสู่ความเสมอภาคร่วมกัน (Together Towards Equity) ระหว่างวันที่ 19 – 20 ตุลาคม 2022 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในความมุ่งมั่นพัฒนาโครงการริเริ่มด้านการศึกษาที่เท่าเทียมเสมอภาคกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการศึกษาในการเผชิญหน้ากับความท้าทายหลายรูปแบบ ไม่ว่าการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2020 และหรือความท้าทายอื่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับการจัดประชุมนานาชาติครั้งนี้มีขึ้นหลังจากประสบความสำเร็จในการจัดประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่อง ปวงชนเพื่อการศึกษา ครั้งที่ 1 : ความเสมอภาคทางการศึกษา (the 1st International Conference on All for Education: Equitable Education) และการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยครูและความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (the Regional Conference on Teachers and Equitable Education: All for Education in Southeast Asia) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้นราว 2,400 คน และ 3,200 คน ตามลำดับ

ทั้งนี้ เพื่อสานต่อความพยายามดังกล่าวในการมุ่งหน้าสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา ตลอดจนการสร้างแรงผลักดันระดับโลกและระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการศึกษาที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน การประชุมจะหารือกันถึงกลยุทธ์ของรัฐบาลในการดูและกลุ่ม OOSCY ตลอดจนแนวโน้มใหม่ของการเรียนรู้ในระบบดิจิทัลและโครงการฟื้นฟูสำหรับกลุ่มชายขอบและผู้ด้อยโอกาสในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีทักษะที่จำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการทำงานตลอดชั่วชีวิต โดยการอภิปรายในหมู่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะเกี่ยวข้องกับการนำระบบการศึกษา การประเมิน และแนวทางของพันธมิตรไปปรับใช้เพื่อจัดการกับประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม OOSCY

นอกจากนี้ การประชุมยังจะสร้างความตระหนักและอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อความเสมอภาคในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสะท้อนถึงกลยุทธ์ กลไก และแนวทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมในแต่ละบริบท สำหรับข้อเสนอแนะทางเทคนิคที่มีการหยิบยกมาหารือพูดคุย หรือนำไปปรับใช้จะได้รับการพัฒนาจากการประชุมโดยคำนึงถึงการอภิปรายของผู้เข้าร่วม และถ้อยแถลงการณ์กรุงเทพฯ 2022 ‘มุ่งสู่การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนและพลิกโฉมการศึกษาในเอเชียแปซิฟิก’ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีการศึกษาระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 (APREMC-II) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 และผลของการประชุมสุดยอดปฏิรูปการศึกษา (TES) ที่จัดโดยสหประชาชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมัยที่ 77 ที่นครนิวยอร์ก เมื่อกลางเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา

อนึ่ง ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำด้านการศึกษา นักการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ จะมีโอกาส 1) ได้รับความรู้โดยตรงเกี่ยวกับประสบการณ์ระดับนานาชาติและระดับภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมผ่านระบบการศึกษา 2) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน และ 3) ร่วมมือกันสนับสนุนความพยายามที่มีอยู่และแนวทางใหม่สู่การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา 

ทั้งนี้ ความพยายามในการสร้างหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านการศึกษานอกระบบครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการมุ่งเน้นไปที่การรักษาความเสมอภาคทางการศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ ขณะเดียวกัน ก็สามารถนำเอาหลักการเดียวกันหลายประการที่อยู่ภายใต้การศึกษานอกระบบมาปรับประยุกต์ใช้กับบริบทต่างๆ ภายในการศึกษาในระบบได้เช่นกัน

รูปแบบของกิจกรรม : บูรณการระหว่างออนไลน์กับประชุม ณ สถานที่จริง (Hybrid Modality)

กำหนดการจัดงาน : 19-20 ตุลาคม 2022
– 19 ตุลาคม, เวลา 9.00 – 18.00 ตามเวลาประเทศไทย (UTC+7)
– 20 ตุลาคม, เวลา 9.30 – 16.30 ตามเวลาประเทศไทย (UTC+7)

สถานที่ประชุม : โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอนด์ แบงค็อก คอนเวนชั่น เซ็นเตเตอร์ ที่เซ็นทรัลเวิร์ล กรุงเทพฯ (Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld, Bangkok)

ทั้งนี้ การประชุมจะจัดขึ้นต่อเนื่องจากงานประชุมรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีประจำปีนี้ (Princess Maha Chakri Award Conference – PMCA) ซึ่งกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม 2022

ผู้ที่ร่วมจัดงาน :

  • กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • องค์การ Save the Children
  • องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organisation – SEAMEO)
  • องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education (UNESCO Bangkok)
  • กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (UNICEF East Asia and Pacific Regional Office) (UNICEF EAPRO)
  •  กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ประเทศไทย (UNICEF Thailand)

แนะนำสำหรับผู้เหมาะเข้าร่วมประชุม :

  • หน่วยงานราชการและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) รวมถึงนักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย นักการศึกษา และตัวแทนเยาวชนทั้งหลาย รวมไปถึงผู้ที่สนใจในประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
  • บรรดาองค์กรที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสามารถเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ในฐานะสมาชิกของเครือข่ายพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ Equitable Education Alliance (EEA) ซึ่งเป็นชุมชนของผู้ปฏิบัติงานที่มีภารกิจในการปรับปรุงความเสมอภาคทางการศึกษาและการลดช่องว่างทางการศึกษาภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอื่น ๆ

ผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้าได้ที่: https://www.afe2022.eef.or.th

สำหรับบุคคล : สามารถเข้าร่วมได้โดยต้องมีหมายเชิญเท่านั้น (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่อีเมล์ afeconference@eef.or.th)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : afeconference@eef.or.th

ผู้เข้าร่วมทางออนไลน์ : ลิงค์เข้าร่วมงานจะได้รับการจัดส่งหลังร่วมลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว


กำหนดการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา:
ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน
วันที่ 19-20 ตุลาคม 2565
การประชุมต่อเนื่องกับการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่  4
โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

09.00 – 10.20เปิดการประชุม: 
พิธีเปิดการประชุม (ท่านละ 7 นาที):
1. ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
2. นางสาววรางคณา มุทุมล ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์ คุณภาพโปรแกรมและผลกระทบ องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children)
3. Mr. Libing Wang (คุณลี่ปิง หวัง) หัวหน้าแผนกนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาทักษะ สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
4. Ms. Kyungsun Kim (คุณ คยองซอน คิม) ผู้อำนวยการ องค์การยูนิเซฟประเทศไทย (UNICEF Thailand)
กล่าวต้อนรับและสรุปการประชุม Transforming Education Summit (TES) (10 นาที): 
• Dr. Ethel Agnes P Valenzuela (ดร. เอเธล แอกเนส พี วาเลนซูเอลา) ผู้อำนวยการ องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO)
มุมมองของเยาวชนเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา (10 นาที): 
1. Mr. Enkhjin Ganzorig (คุณ อังกลิน กันโซริก) ตัวแทนเยาวชนจากประเทศมองโกเลีย
2. นางสาวศิริบุตร มุสิกโพธิ์ ตัวแทนเยาวชนจากประเทศไทย
ห้องประชุม: เวิลด์บอลรูม บี
10.20 – 10.30รับประทานอาหารว่าง
10.30 – 12.00ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
การประชุมช่วงที่ 1 
ผู้ดำเนินการอภิปราย: เจ้าหน้าที่จากสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ 
1. ภาพรวมทางสถิติ: การเข้าถึงการศึกษาและการลงทะเบียนเรียน (20 นาที) 
Mr. Nyi Nyi Thaung (คุณ หนี่ หนี่ ทาอง) เจ้าหน้าที่โครงการชำนาญการพิเศษ สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
2. ภาวะการเรียนรู้ถดถอย (20 นาที)
Ms. Mitsue Uemura (คุณ มิตสึเอะ อูเอมูระ) หัวหน้าฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EAPRO)
3. แนวทางสหสวิชาชีพ: ภัยพิบัติโควิด-19 และแนวทางแก้ไขด้านทุนมนุษย์ (20 นาที)
Mr. Lars M. Sondergaard (คุณ ลาร์ส เอ็ม ซอนเดอร์การ์ด) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ภาคการศึกษา ภูมิภาคเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก กลุ่มธนาคารโลก
สนทนาและซักถาม (20 นาที)
ห้องประชุม: เวิลด์บอลรูม บี
10.30 – 11.00งานแถลงข่าวการประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกันดำเนินควบคู่ไปกับการประชุมช่วงที่ 1 ณ ห้อง M 1 – M 2
12.00 – 13.00รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30ก้าวไปข้างหน้าท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 
การประชุมช่วงที่ 2 การอภิปราย 
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Dr. Stuart James Cameron (ดร. สจ๊วต เจมส์ คาเมรอน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา Global Partnership Education (GPE)
1. การเร่งรัดสู่ดิจิทัล
นางสาวมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม SEA
2. การสอนและรูปแบบวิธีการสอน
Mr. Pg Haji Mohd Wahab Bin Pg Haji Abdullah (คุณ เปองิรัน ฮาจิ โมด วาฮับ บิน เปองิรัน ฮาจิ อับดุลลาห์) ผู้ช่วยอาจารย์ด้านเทคนิคอาวุโส ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลจากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศบรูไน
3. ความคล่องตัวของภาครัฐและการเปลี่ยนแปลงระดับสถาบัน
Ms. Risa Nihayah (คุณ ริซ่า นิฮาห์ยา) นักวิจัยจาก Research on Improving Systems of Education (RISE) อินโดนีเซีย สถาบันวิจัย SMERU
4. การสนับสนุนชุมชนและผู้ปกครอง
Mr. Siddhesh Mhatre (คุณ สิดเดช มหาเชอร์) หัวหน้าร่วมและหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการหลักสูตรประถมศึกษาโดยตรง มูลนิธิ Pratham Education
5. ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษา 
คุณสมัชชา พรหมศิริ ผู้ช่วยกรรมการใหญ่ ฝ่ายการตลาดดิจิตอลและสื่อสารองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
ห้องประชุม: เวิลด์บอลรูม บี
14.30 – 14.40รับประทานอาหารว่าง
14.40 – 14.55การพัฒนาทักษะและความต้องการของเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
การประชุมช่วงที่ 3 การแนะนำหัวข้อ แนะนำเกี่ยวกับห้องประชุมกลุ่มย่อย
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Mr. Mirza Delmo (คุณ เมียร์ซา เดลโม) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านความยากจนในเด็ก องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children) 
ห้องประชุม: เวิลด์บอลรูม บี
14.55 – 15.05ห้องประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 3 ห้อง
15.0516.35การประชุมช่วงที่ 3 ห้องประชุมกลุ่มย่อย 
1. ทักษะดิจิทัล ห้องประชุม: เวิลด์บอลรูม เอ
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Ms. Hannah Najar (คุณ ฮันนาห์ นาจาร์) ผู้จัดการโครงการระดับภูมิภาค มูลนิธิ Asia Foundation
a. Ms. Poornima Meegammana (คุณ พรนิมา มีกามมานะ) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเยาวชน NextGen- Girls in Technology
b. Ms. Ida Mboob (คุณ อีด้า มูบ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาดิจิทัลอาวุโส กลุ่มธนาคารโลก
c. นางสาวศุภรัตน์ จูระมงคล หัวหน้าฝ่ายการกุศลของ Microsoft APAC Microsoft Accelerating Thailand
2. ทักษะทางสังคมและอารมณ์ ห้องประชุม: ซี
ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร. พร้อมพิไล บัวสุวรรณ รองศาสตราจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
a. Ms. Danielle De La Fuente (คุณ ดาเนียล เดอ ลา ฟูเอนเต้) ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหาร Amal Alliance (Karanga Steering Committee)
b. Mr. Norhailmi Abdul Mutalib (คุณ นอร์ไฮล์มี อับดุล มูตาลิบ) ครูวิทยาศาสตร์จากโรงเรียน Juerlun Secondary School ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลจากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศมาเลเซีย
c. Ms. Cornelia Hirania Wiryasti (คุณ คอเนลเลีย ฮิราเนีย วิรยาสติ) Digital Skills and Distance Learning – Skills Development and Employment, ILO ประเทศอินโดนีเซีย
3. ทักษะการเป็นผู้ประกอบการและทักษะการทำงาน-การใช้ชีวิต ห้องประชุม: โลตัสสวีท 7
ผู้ดำเนินการอภิปราย: จะกำหนดภายหลัง
a. นางสาวปัณฑาทิพย์ มงคลศรี ผู้อำนวยการโครงการ โครงการศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิรักษ์ไทย มหาชัย
b. Mr. David Hall (คุณ เดวิด ฮอลล์) Chief of Party – Second Chance Opportunity for OOSY, USAID (SEAMEO)
c. นางสาวประทิน เลี่ยนจำรูญ หัวหน้าโครงการดูแลทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคพังงา ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลจากมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย
16.35 – 16.50ย้ายกลับห้องประชุมหลัก เวิลด์บอลรูม บี
16.50 – 17.50สรุปการประชุมช่วงที่ 3 ณ ห้องเวิลด์บอลรูม บี
17.50 – 18.00สรุปภาพรวมการประชุมวันที่ 1 ณ ห้องเวิลด์บอลรูม บี

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565

09.30 – 09.55โครงการฟื้นฟูกลุ่มผู้ด้อยโอกาส – เชื่อมช่องว่างทางการศึกษา 
การประชุมช่วงที่ 4 การแนะนำหัวข้อ แนะนำเกี่ยวกับห้องประชุมกลุ่มย่อย 
วิทยากรกระบวนการ:  Dr. Benjamin Olken, (คุณ เบนจมิน โอลเกน) ผู้อำนวยการ MIT/Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab (J-PAL)
ห้องประชุม: โลตัสสวีท 5 – 7
09.55 – 10.00ย้ายไปที่ห้องประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 3 ห้อง
10.00 – 11.30การประชุมช่วงที่ 4 ห้องประชุมกลุ่มย่อย
1. เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการเฉพาะ  ห้องประชุม: โลตัสสวีท 5 – 7
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Ms. Barkha Henry (คุณ บักฮาห์ เฮนรี่) ผู้จัดการประจำภูมิภาค, ผู้จัดการระดับภูมิภาค, ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก, Leonard Cheshire
a. Dr. Hanani Binti Harun Rasit (ดร. ฮานานี บินติ ฮารุน ราสิต) ผู้อำนวยการ SEAMEO Regional Center for Special Educational Needs (SEAMEO SEN)
b. Ms. Prashanti Pradhan (คุณ ประสานติ ปราทาน) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกลุ่มสนับสนุนผู้ปกครองเพ็ญเสม (Phensem Parent Support Group)
c. Ms. Gereltuya Barimid (คุณ เกเรลตูยา บาริมิด) เจ้าหน้าที่ กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ ประเทศมองโกเลีย
2. การย้ายถิ่น ภาษา และเชื้อชาติ ห้องประชุม: โลตัสสวีท 1 – 4
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Dr. Heon Joo Suh (ดร. ฮอน จู ซอ) ผู้อำนวยการ National Institute for Lifelong Education (NILE)
a. Mr. Francesco Calcagno (คุณ ฟรานเชสโก้ กัลกาญโญ) หัวหน้าฝ่ายการศึกษา องค์การยูนิเซฟ ประเทศโปแลนด์
b. Ms. Marianna Dimitriou (คุณ มาเรียนนา ดิมิทรีอู) หัวหน้ากรมสามัญศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศบาลเมืองฮีราคลีออน (ครีต) 
c. Ms. Maria Mercedes E. Arzadon (คุณ มาเรีย เมเซเดส อี อาซาดอน) รองศาสตราจารย์ College of Education, University of the Philippines
3. เด็กและเยาวชนยากจนในบริบทเมือง ห้องประชุม: โลตัสสวีท
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Mr. Mirza Delmo (คุณ เมียร์ซา เดลโม) หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้านความยากจนในเด็ก องค์การช่วยเหลือเด็กประจำประเทศไทย (Save the Children)
a. Dr. Le Anh Vinh (ดร. เลอ อันห์ วินห์) อธิบดี The Vietnam Institute of Educational Science
b. Ms. Rasheda K. Choudhury (คุณ ราเชดา เชาว์ธุรี) Executive Director (CEO), Campaign For Popular Education (CAMPE)
c. Mr. Italo Dutra (คุณ อิตาโล ดูตรา) ที่ปรึกษาการศึกษาระดับภูมิภาค สำนักงานภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียนของยูนิเซฟ (LACRO)
11.30 – 12.30รับประทานอาหารกลางวัน
12.30 – 13.30การประชุมช่วงที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะ
ห้องประชุม: โลตัสสวีท 5 – 7
13.30 – 14.30การประเมินในฐานะเครื่องมือเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ 
การประชุมช่วงที่ 5 ห้องประชุมหลัก
ผู้ดำเนินการอภิปราย: Mr. Alejandro Ibanez (คุณ อเลซานโดร อิบาเนซ) ผู้จัดการโครงการ The Southeast Asia Primary Learning Metrics (SEA-PLM)
1. การประเมินรายบุคคลเพื่อความเสมอภาค การพัฒนาแบบองค์รวม และความเป็นอยู่ที่ดี
Ms. Aija Maarit Rinkinen (คุณ ไอยา มาริต รินกิเนน) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาอาวุโส ธนาคารโลก
2. การประเมินฐานสมรรถนะ: การณีศึกษาโครงการ PISA for Schools
Dr. Joanne Caddy (ดร. โจแอน คัดดี้) หัวหน้าทีม PISA for Schools/นักวิเคราะห์อาวุโส องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
3. ข้อมูลหลายภาคส่วนเพื่อการประเมินการเรียนรู้
Ms. Haryati Mohamed Razali (คุณ ฮารยาติ โมฮาเหม็ด ราซาลี) Senior Principal Assistant Director, Educational Macro Data Planning Sector, กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศมาเลเซีย
สนทนาและซักถาม (25 นาที)
ห้องประชุม: โลตัสสวีท 5 – 7
14.30 – 14.45รับประทานอาหารว่าง
14.45 – 15.30สรุปผลการสัมมนาและข้อเสนอแนะ ณ ห้องประชุมโลตัสสวีท 5 – 7
15.30 – 16.30ปิดการสัมมนา 
การเชื่อมต่อประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการพลิกโฉมการศึกษา (Transforming Education Summit) โดย Ms. Jenelle Babb (คุณ เจนเนลล์ บาบบ์) ที่ปรึกษาระดับภูมิภาค (การศึกษา) สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
• แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equitable Education Alliance หรือ EEA) โดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 
ห้องประชุม: โลตัสสวีท 5 – 7