โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง
(Teacher and School Quality Program: TSQP)

มีแนวคิดในการลดอุปสรรคทางด้านการศึกษา ที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนและครูผู้สอน

สถานการณ์ปัญหาทางด้านสถานศึกษา

เป็นสาเหตุหลักของการศึกษาไทย ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของทั้งนักเรียนและครูผู้สอน

คุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทยยังมีความแตกต่างกัน
การจัดการสอนของครู
ยังไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่
อัตราการหลุดออก
จากระบบการศึกษา
ของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
มีแนวโน้มที่สูงขึ้น
ภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Loss)
จากสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาตั้งแต่ปี 2563

โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP
มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของโรงเรียน ให้สามารถพัฒนาตนเองได้ทั้งระบบ (Whole School Approach)
ผ่านการดำเนินงานทั้ง 2 ส่วน ทั้งด้านระบบบริหารจัดการและกระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน

โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 งานหลักคือ

กระบวนการพัฒนาคุณภาพ
โรงเรียนทั้งระบบ

เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเป้าหมายมีการพัฒนา ตนเองและประยุกต์ใช้นวัตกรรมจะเครือข่าย พัฒนาทั้ง 11 เครือข่าย

กระบวนการวิจัย ติดตาม ถอดบทเรียน
เพื่อการสื่อสารและขยายผล

เพื่อนำไปขยายผลสำเร็จของโครงการในรุ่นถัด ๆ ไป รวมถึงผลักดันทางด้านนโยบายและโครงสร้าง ของการศึกษาไทย
ในอนาคต

นวัตกรรมและวิธีการพัฒนาจากเครือข่ายร่วมดำเนินงานทั้ง 11 เครือข่าย
ใช้เป็นแกนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)
ผ่านการจัดทำแผนการจัดการเรียน การสังเกตการสอน
และการสะท้อนผลร่วมกัน
วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1) นำเสนอสถานการณ์ปัญหา
2) เรียนรู้ด้วยตนเอง
3) นำเสนอแนวคิดและอภิปรายร่วมกัน
4) สรุปเชื่อมโยงแนวคิด
ประยุกต์นวัตกรรมและวิธีการพัฒนาตามแนวคิด หลักสูตรฐานสมรรถนะจากมูลนิธิลำปายมาศ ดังนี้
  • จิตศึกษา
  • กระบวนการ PLC
  • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยวิธีการหลากหลาย
CAR Model Cooperative Learning (การจัดการเรียนรู้
ที่ให้ผู้เรียน สร้างการเรียนรู้ด้วยการทำงานแบบกลุ่ม)
Active Learning (การจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้าง
การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำงาน)
Reflective Learning (การจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียน
สร้างการเรียนรู้ด้วยการสะท้อนความคิด)
แผนการสอนหนึ่งหน้าในห้องเรียนอริยะ โดยประยุกต์การเรียนรู้ผ่านการสร้างข้อตกลงร่วมกัน สร้างมุมแห่งการเรียนรู้ การดำเนินกิจกรรม และติดตามผลพฤติกรรมของนักเรียนที่เข้าร่วม
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมที่หลากหลายโดยใช้รูปแบบ Professional Learning Community School Model
ที่ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ Active Learning และ Competency- Based Instruction
นวัตกรรมบ้านวิทยาศาสตร์น้อย (ชั้นปฐมวัย ป.1-3)
ผ่านกิจกรรมจัดทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์
เพื่อให้นักเรียนได้เสริมสร้างองค์ความรู้และมีทักษะ
การคิดวิเคราะห์เบื้้องต้น
โครงงานฐานวิจัย (ชั้น ป.4 ขึ้นไป)
ผ่านรูปแบบการสอน ด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ
หน่วยเตรียมความพร้อมผู้เรียน, หน่วยการสำรวจชุมชน, หน่วยการสร้างโจทย์และออกแบบศึกษา, หน่วยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล และ หน่วยสรุปและเผยแพร่
นวัตกรรมเชิงระบบ
ด้วยจิตศึกษา กระบวนการ PLC และ การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem- Based Learning: PBL)
โครงงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community Innovation Project: CIP) ผ่านการประเมินระดับความคิดของนักเรียน คิดประเด็น และสร้างแรงบันดาลใจ วางแผน ลงมือทำ ประเมินตนเอง และต่อยอดองค์ความรู้
STEAM Design Process ทั้ง 5 ขั้นตอน
1. ถาม เพื่อให้เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา
2. จินตนาการ เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา
3. วางแผน จากแนวคิดดังกล่าว
4. สร้างสรรค์ ดำเนินงานตามขั้นตอนที่วางแผนเอาไว้
5. คิดสะท้อนและออกแบบใหม่ เพื่อวิเคราะห์ คุณภาพของชิ้นงาน
ใช้นวัตกรรมเชิงผสมผสาน
  • นวัตกรรมเชิงระบบ ด้วยจิตศึกษา
  • กระบวนการ PLC และการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • การจัดการเรียนการสอนแบบองค์รวม
  • การใช้วิธีการศึกษาบทเรียนและวิธีการแบบเปิด
  • การจัดการเรียนรู้แบบเพาะพันธุ์ปัญญา
  • การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
  • การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการ
การพัฒนาด้วย POWER Model:
P - Potential Adding เพิ่มศักยภาพการทำงาน
O - Ordering Mindset ระหว่างโค้ช ผู้บริหารและครู
W - Wisdom Sharing ผ่านการใช้กระบวนการ PLC
E - Empower Each Other จัดกิจกรรมเพื่อให้กำลังใจ
R - Review การทบทวนและขยายผล
ใช้กระบวนการหลักของโรงเรียน 4 กระบวนการ
  • การบริหารจัดการ
  • การจัดการเรียนการสอน
  • การบริหารงานบุคคล
  • การนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ
การบริหารโรงเรียนทั้งระบบและการพัฒนา ทั้ง 5 ระยะ
ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม
ระยะที่ 2 วางแผนพัฒนา
ระยะที่ 3 ดำเนินการพัฒนา
ระยะที่ 4 เก็บข้อมูล ประมวลผลการปฏิบัติจริง
ระยะที่ 5 จัดเวทีเสนอผลงาน เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยวิธีการหลากหลาย ได้แก่
5 STEPs, Lesson Study, PLC
เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

พื้นที่การดำเนินงาน ภายใต้ หน่วยงานต้นสังกัดส่วนกลาง
(สพฐ. อปท. สช. /พื้นที่ สพป.150 แห่ง)






คลิ๊กที่แต่ละภาคเพื่อดูรายละเอียด

จำนวนโรงเรียนในโครงการ
ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน

โรงเรียน




0 0 0 0 สังกัดสพฐ. โรงเรียน สังกัดอปท. โรงเรียน สังกัดสช. โรงเรียน

197โรงเรียน

ภาคเหนือ 10จังหวัด
จังหวัด จำนวน
เชียงใหม่ 74
เชียงราย 9
กำแพงเพชร 15
Download รายละเอียด
รวมทั้งหมด

0

โรงเรียน

จำนวนนักเรียนในโครงการ

อนุบาล
36,568 คน
ประถม
115,375 คน
มัธยมต้น
32,205 คน
มัธยมปลาย
3,379 คน




การประเมินพัฒนาการของครู
ผ่านการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนให้สามารถเป็นผู้นำทางวิชาการ ในการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลง
และการบริหารจัดการโรงเรียนแนวใหม่

ครูมีการติดตามประเมินผลผู้เรียนได้
สามารถออกแบบการประเมินผลที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานและเรียนรู้ของผู้เรียนผ่าน เครื่องมือในการประเมินที่เน้นติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนโดยเน้น การสะท้อน (feedback)
ครูเป็นนักเรียนรู้
มี Growth mindset และความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยง
ความรู้ต่างๆ เข้ากับโจทย์และบริบทของชุมชนได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ ผู้เรียนไว้วางใจ
ครูเป็นโค้ช/Facilitator
มีทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ และสามารถให้ feedback เชิงบวก
แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ และสามารถพัฒนาตัวเองได้
ครูเป็นนักออกแบบการเรียนรู้
เข้าใจหลักการในการจัดการเรียนรู้ ตามนวัตกรรมหลักที่ตัวเองใช้และ สามารถนำนวัตกรรมอื่นมาปรับใช้ ในการเขียนแผนการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับ
การลงมือปฏิบัติจริง
ครูสร้างการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียนและภายนอกได้
สามารถวิเคราะห์ต้นทุน บริบทชุมชนได้ โดยเปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม
และสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้

การประเมินพัฒนาการของผู้อำนวยการ
ผ่านการพัฒนาสมรรถนะของผู้อำนวยการโรงเรียนที่สนับสนุนครู ทั้งด้านวิชาการ และบริหารจัดการ

ผอ.เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำทางวิชาการ
มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน เข้าใจในเรื่องของนวัตกรรม สนับสนุนครูผู้สอน
และสร้างการมีส่วนร่วมทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน
ผอ.มีระบบการพัฒนาครู
มีการกำหนดคณะทำงาน หรือฝ่ายวิชาการที่มีบทบาทหน้าที่ในการวาง เป้าหมายคุณภาพผู้เรียน มีระบบสนับสนุนครูด้านการพัฒนาการสอน และใช้ PLC เป็นกลไก
แลกเปลี่ยนประสบการณ์
ผอ.มีบทบาทเป็นโค้ช
มีทักษะในการฟัง ตั้งคำถาม สามารถเป็น facilitator ในวง PLC ได้
สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้คำแนะนำครูได้ มีความเข้าใจในการนิเทศชั้นเรียน
ผอ.มีระบบประเมินและติดตามผลตามแผนงาน
โรงเรียน มีระบบติดตามประเมินผล และรับ feedback ความก้าวหน้า ตามแผนงานและผู้เรียน
ผอ. สามารถทำงานอย่างมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนา โรงเรียนทั้งระบบแบบครบวงจร
วางแผนและกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาโรงเรียนที่มีความท้าทาย และสอดคล้องกับบริบทชุมชน จากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทำงานร่วมกับ
ชุมชน ภาคี และเครือข่าย โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

การประเมินพัฒนาการของนักเรียน
ผ่านการพัฒนาภายใต้ผลลัพธ์ของโครงการทั้ง 3 ด้าน

ความรู้ (Knowledge)

สามารถเรียนรู้และจับใจความสำคัญ ของเนื้อหาหรือเรื่องที่เรียนรู้ได้ รวมไปถึงสามารถเขียนและสื่อสาร ได้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม
เข้าใจในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ได้รับ กับการนำมาปรับใช้
ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการระบุและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ (Skills)

ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาและวิพากษ์อย่างมีวิจารณญาณ
(Critical Thinking)
ทักษะการคิดสร้างสรรค์มีความคิดที่ยืดหยุ่น และหลากหลาย
ทักษะการสื่อสารทั้งในด้านการถ่ายทอดและการเลือกใช้เครื่องมือ
ทักษะอาชีพในด้านการเลือกฝึกและการนำไปต่อยอดได้จริง
ทักษะชีวิต มองเห็นคุณค่าในตนเองมองโลกในแง่ดีพร้อมเผชิญปัญหาต่างๆ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (คุณธรรมจริยธรรม)

มีวินัยยึดมั่นในกฏ ระเบียบ
และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
มีความซื่อสัตย์ยึดมั่นในความถูกต้อง
มีจิตสาธารณะผ่านการช่วยเหลือ
หรือทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น

ตัวอย่างผลสำเร็จ

การพัฒนาการเรียนการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านทรายขาว จังหวัดสงขลา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การพัฒนาการสอนเชิงรุก
ด้วยแนวคิดโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และโครงงานฐานวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดอบรมครูเกี่ยวกับการออกแบบ การสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
นักเรียนสามารถนำความรู้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างอาชีพได้ นำไปสู่การเปิดบ้านและเปิดชั้นเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชน
มาเยี่ยมชมผลงาน ภายหลังการดำเนินโครงการ มีการประเมินผล และพบว่าภาพรวมการพัฒนาด้านการเรียนของเด็กในโรงเรียน
อยู่ในระดับมาก

การสร้างเครือข่ายของโรงเรียนบ้านทรายขาว โรงเรียนคลองพังกลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แนวคิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุร

เครือข่ายภายในโรงเรียน
มีการจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน คณะกรรมการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนและผู้เรียน เช่น การสร้างห้องเรียนชุมชน
เครือข่ายระหว่างโรงเรียน
เป็นโรงเรียนคู่พัฒนาที่มีการแลกเปลี่ยนคำแนะนำ ที่สามารถนำมา พัฒนาโรงเรียนของตนเองได้ เช่น การจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง เครือข่าย ส่งผลให้การดำเนินงานการสร้างเครือข่ายการทำงาน ร่วมกัน อยู่ในระดับมากที่สุด