นโยบายและยุทธศาสตร์
หลักการของ กสศ.
กสศ. ดำเนินงานโดยยึดมั่นในการหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
- โอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้คือสินทรัพย์ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดของประชาชนทุกครั้ง อันจะส่งผลสืบเนื่องในระยะยาวต่อความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐานะ คุณค่าความเป็นมนุษย์ ตลอดจนเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการร่วมพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นใจและยั่งยืน
- ทุกภาคส่วนควรพิจารณาว่า การศึกษาและพัฒนา มิใช่เป็นภาระค่าใช้จ่าย ที่อาจต้องถูกจำกัดตัดทอนได้โดยง่าย แต่ เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่จำเป็นต้องทำ เพื่อผลที่คุ้มค่าและยั่งยืน อันรวมถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ในท้ายที่สุด
- กสศ. ใช้ความรู้นำ เพื่อคิดคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้แก่เกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบการช่วยเหลือ ทุนอุดหนุน และกิจกรรมผ่านหน่วยงานต่าง ๆ
- “มากกว่าทุนคือโอกาส” คือถ้อยคำที่ผู้ได้รับการเงินช่วยเหลือและทุนอุดหนุนจาก กสศ. พึงนึกถึงเสมอ
- กสศ. มุ่งสร้างเสริม ระบบนิเวศที่เอื้ออำนวย ต่อการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ตั้งแต่การส่งเสริมการเริ่มต้นวัยที่ดีของเด็ก สนับสนุนครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู อุดหนุนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา จนถึงการเสนอแนะนโยบายเพื่อประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากร
- กสศ. เป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลือ่นการลดความเหลื่อมล้ำและการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่บรรลุผลสำเร็จได้ ทุกภาคส่วน ต้องมุ่นมั่นดำเนินงานเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง
- ในการทำงานร่วมกัน หุ้นส่วนภาคีและ กสศ. ต่างเข้าใจ เคารพและยึดถือ หลักธรรมาภิบาล พันธสัญญาระหว่างกัน ความโปร่งใส และผลประโยชน์สาธารณะ เป็นที่ตั้ง
- การสนับสนุนในลักษณะส่งเสริมให้พื้นที่ ท้องถิ่นรับเป็นเจ้าภาพ และให้ จังหวัดเห็นความสำคัญ เป็นกุญแจไขไปสู่การพัฒนาความเสมอภาคและคุณภาพการเรียนรู้
- กสศ. ตระหนักว่าการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา มีลักษณะพลวัต หรือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และจะจัด ลำดับความสำคัญ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทอย่างสม่ำเสมอ
วิสัยทัศน์
เด็ก เยาวชน และประชาชน
ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสทุกคน
มีโอกาสพัฒนาตนเองตามศักยภาพ
และเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
พันธกิจ
สร้างเสริมการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดย
- การลงทุนที่ใช้ความรู้นำ เพื่อช่วยเหลือและสร้างคุณค่าเพิ่มแก่กลุ่มเป้าหมาย
- การระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน
- การเสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
ยุทธศาสตร์
- สร้างความมั่นใจในศักยภาพและประสิทธิภาพหน่วยบริการ
- กระตุ้นการให้ทุนการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศ
- เสริมสร้างระบบธรรมาภิบาลในการทำงานร่วมกับภาคี
- สร้างความเข้มแข็งให้จังหวัด มีกลไกความพร้อมในการสร้าวความเสมอภาคทางการศึกษา
- ยกระดับความสามารถในการพัฒนาครูทั้งในและนอกระบบ
- พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคมแห่งโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษา
เป้าประสงค์
- ผู้ด้อยโอกาสได้รับการช่วยเหลือและมีโอกาสในการศึกษาพัฒนาตามศักยภาพ
- ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบได้รับการพัมนาคุณภาพทั่วถึง
- ภาครัฐและสังคมมีแนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาที่ได้ผลยิ่งขึ้น
จุดเน้นสำคัญ
- สร้างความมั่นใจในการบริการแก่กลุ่มเป้าหมาย
- สร้างความมั่นใจในการทำงานร่วมกันของหุ้นส่วนภาคและ กสศ.
- สร้างความมั่นใจในการจัดสรรทรัพยาการของรัฐ