#สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม

EEF_desktop-01
EEF_desktop-02
EEF_desktop-03
previous arrow
next arrow
EEF_mobile-01
EEF_mobile-02
EEF_mobile-03
previous arrow
next arrow

ร่วมบริจาคเร่งด่วนสมทบทุนอาหารสำหรับนักเรียนยากจนพิเศษที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19

ปิดเทอมนี้ยาวนาน
กว่าทุกครั้ง…  

46 วัน คือช่วงเวลาปิดเทอมที่ยาวนานที่สุด จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น นักเรียนยากจนพิเศษทั่วประเทศกำลังเผชิญกับผลกระทบสำคัญ คือการที่เด็กๆ ไม่มีข้าวกิน บ้างอดมื้อกินมื้อ ตลอดปิดเทอม เพราะสำหรับนักเรียนยากจนพิเศษ  อาหารที่โรงเรียนคือ มื้ออาหารที่ดีที่สุดที่มีคุณค่าโภชนาการครบถ้วนของเขา

ยิ่งปิดเทอมนาน…ยิ่งวิกฤต

จากการสำรวจของ กสศ. พบว่าวันเปิดเทอมของทุกปีจะเป็นวันที่เด็กนักเรียนยากจนพิเศษจะมีน้ำหนักน้อยที่สุด จากการจดบันทึกติดตามของครูประจำชั้น  แสดงให้เห็นว่า ยิ่งปิดเทอมนาน ปัญหาภาวะทุพโภชนาการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กจึงยิ่งวิกฤต

เสียงสะท้อนจากคุณครูอรุณศรี หลงชู
ครูโรงเรียนบ้านยะบะ จ.นราธิวาส

บริจาค

โครงการ
#สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม
โดย กสศ.

โครงการ #สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม โดย กสศ.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เร่งให้การช่วยเหลือ จัดสรรงบประมาณสำหรับมื้ออาหาร เพื่อเยียวยากลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษ จำนวน 753,997 คน โดยช่วยเหลือเด็กคนละ 600 บาท สำหรับมื้ออาหาร แต่การดำเนินงานเพียงหน่วยงานเดียวก็ไม่อาจถึงเป้าหมายได้ ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือในโครงการ #สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม ชวนคนไทยทั่วประเทศร่วมสมทบทุน เติมเต็มมื้ออาหารของเด็กๆ ให้พวกเขาสามารถก้าวผ่านวิกฤตและมีโอกาสกลับมาเรียนอีกครั้งเมื่อเปิดเทอมใหม่มาถึง
เสียงสะท้อนจากคุณครูอรุณศรี หลงชู
ครูโรงเรียนบ้านยะบะ จ.นราธิวาส
บริจาควันนี้ นําไปลดภาษีได้ 2 เท่า
วิธีลดหย่อนภาษีและออกใบเสร็จ

ดูรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับจัดสรรเงินบริจาค


ปิดเทอมนี้กินข้าวกับอะไร
Card image cap
“ผักกาดต้ม…นี่คือกับข้าวที่ดีที่สุด บางวันไม่มีผักก็ต้องกินข้าวกับน้ำเปล่า”

กับข้าวของเด็กนักเรียน ชั้น ป.5 และน้องเด็กเล็กอีก 3 คน ในต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย

นี่คือคนจนจริงๆ ที่เราต้องช่วยเหลือ

พ่อพิการแขน เก็บขยะขาย ปกติมีรายได้เดือนละ 400 บาท พอโควิดระบาด ไม่มีคนมารับซื้อของเก่าในหมู่บ้าน

แม่อาชีพรับจ้าง ถางหญ้า มีรายได้เดือนหนึ่งประมาณ 600 บาท ลูกที่อยู่ด้วยมี 4 คน

Card image cap
“ข่าอ่อนที่เก็บได้จากรอบๆ บ้าน จิ้มกินกับน้ำพริกเป็นกับข้าวประจำ กินเกือบทุกมื้ออาหาร”

เสียงสะท้อนนักเรียน ชั้น ป.5 ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

ที่ต้องดูแลแม่ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง และพ่อที่ถูกรุมเร้าด้วยโรคจากความชราจนไม่สามารถทำงานได้

Card image cap
“น้ำบูดูและสะตอดอง” กับข้าวของนักเรียนชั้น ป.5

อยู่ที่ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

พ่อป่วยไม่สามารถทำงานได้ มีแม่คอยทำงานเพียงคนเดียว เพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว

Card image cap
“น้ำบูดูบีบมะนาวหั่นพริกลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ได้รสชาติ”

กับข้าวของนักเรียนชั้น ป.2 และ ป.6 อยู่ที่ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

พ่อแม่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้รวมกันทั้งสองคนไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน

ดูทั้งหมด


พลังความร่วมมือและผลลัพธ์ความสำเร็จ